แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัย ในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุขสัณห์ เขื้อวงศ์งาม โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
  • ศิริพร นุชสำเนียง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การรักษาความปลอดภัย, สถานที่ท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร 2) ศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร 3) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร และ 4) นำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 32 คน และการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ประกอบย่านถนนข้าวสาร จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ภาครัฐจะต้องให้โอกาสผู้ประกอบการเสนอความคิดเห็น ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจและติดตามประเมินผล ทำให้เกิดความร่วมมือและการปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน เพิ่มเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านภาษาเพื่อสื่อสารทำความเข้าใจกฎระเบียบการรักษาความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีจุดคัดกรองและตรวจค้นอาวุธหรือสิ่งผิดกฎหมายผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ติดตั้งกล้องวงจรปิดในสถานประกอบการและสนับสนุนข้อมูลเจ้าหน้าที่ในการติดตามและดำเนินคดีผู้ก่อเหตุร้าย จัดการด้านจราจรกำหนดจุดรับ – ส่งของรถโดยสารสาธารณะ รวมไปถึงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ด้วย ผู้ประกอบการไม่จัดสถานที่กีดขวาง ทางสาธารณะ และให้มีการจัดการด้านสาธารณสุขต่อนักท่องเที่ยวในด้านความสะอาด ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย รวมทั้งการจัดการขยะในพื้นที่อย่างเข้มงวด เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย ไม่วิตกกังวลด้านอาชญากรรมต่าง ๆ ส่งผลให้มีความพึงพอใจและมีความสุขตลอดการมาท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสารและส่งผลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ แนะนำและบอกต่อนักเที่ยวต่างชาติคนอื่นด้วย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (19 มกราคม 2558). ประวัติความเป็นมา ถนนข้าวสาร. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2561, จาก http://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid= 366&filename=index

ไชยวัฒน์ อัศว์ไชยตระกูล. (2556). การรับรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำและการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษา ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดวงสมร นาเมือง. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลสระคู อำเภอ สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ตฤณ พริ้งประเสริฐ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการที่พักแบบเกสต์เฮ้าส์ บริเวณถนนข้าวสาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2555). หลักการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเพทฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วันทิกา หิรัญเทศ. (2554). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการให้บริการของตำรวจท่องเที่ยว ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. ทุนวิจัยวิทยาลัยราชพฤกษ์ วิทยาลัยราชพฤกษ์.

วารุณี ชาคำรุณ. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดเวลาทีประชาคมชุมชนเพื่อจัดทำแผนเทศบาลตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2556). ปฐมนิเทศอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้งส์.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (1 มีนาคม 2560). สถิติ 2559 กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000130/

อธิป นนทกะตระกูล. (2558). การจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ในย่านถนนข้าวสารกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 110-121.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2548). ความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย