สมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ไพบูลย์ ช่างเรียน สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ติน ปรัชญพฤทธิ์ สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

สมรรถนะของผู้บริหาร, การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร  2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และ 3)โครงสร้างความสัมพันธ์สมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงาน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร ประชากรที่เลือกใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,200 คน แบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเครื่องมือที่ใช้เลือกในการวิจัย การเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล (Lisrel Model)

                   ผลการวิจัยพบว่า

                   1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร ด้านความรอบรู้ทักษะในการบริหาร การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริหารอย่างมืออาชีพ ทักษะการใช้ความคิดและการสื่อสารและความน่าเชื่อถือและหลักจริยธรรมอยู่ในระดับมากและระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร ด้านสมรรถนะ ความผูกพันต่อองค์กร การสร้างองการแห่งการเรียนรู้ การให้สิ่งจูงใจและด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก  2) ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร พบโมเดลองค์ประกอบด้านทักษะการใช้ความคิดและการสื่อสารมีค่าน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับ 0.990 รองลงมาด้านการบริหารอย่างมืออาชีพมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.87 และด้านความ

น่าเชื่อถือและหลักจริยธรรมมีค่าน้ำหนักมากที่สุด 0.85 และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร พบโมเดลองค์ประกอบด้านการให้สิ่งจูงใจมีค่าน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับ1.08 รองลงมา ด้านการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มีเท่ากับ 0.91 และด้านความ ผูกพันต่อองค์กรมีค่าน้ำหนักน้อยที่สุดเท่ากับ0.04 3) รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์สมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกมีค่าระหว่าง 0.174 – 0.814 โมเดลสมรรถนะของผู้บริหารที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีค่าร้อยละ 60 ด้านความรู้ทักษะในการบริหาร ด้านทักษะการใช้ความคิด และการสื่อสาร ด้านความน่าเชื่อถือและหลักจริยธรรมและด้านการบริหารแบบมุ่ง ผลสัมฤทธิ์และตัวแปรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านความรู้ทักษะในการบริหาร

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2541). ปฏิรูประบบการคลังไทย กระจายอำนาจสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2542). ปัญหาการจัดการบุคคลในอนาคต ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ปัทมา จันทวิมล. (2544). ตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อลักษณะการเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ของหน่วยงานฝึกอบรมภาคเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัชนีวรรณ วินิชยถนอม. (2548). การนำสมรรถนะมาใช้ในการบริหารผลงานข้าราชการ. วารสารข้าราชการ, 23(2), 11.

Clarke, J. J. (1933). The Local Government of the United Kingdom. London: Sir Isaac Pitman and son.

George, J. M. and Jones, G. R. (1999). Organizational Behavior. (2nd ed.). Massachusetts: Addison Wesley Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-09-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย