การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
รูปแบบการสอน, แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา, จิตสาธารณะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ประชากรในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 6 อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 57 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 6 อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 32 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการช่วยเหลือผู้อื่นจำนวน และเรื่องการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน จำนวน 12 ชั่วโมง แบบสังเกตพฤติกรรมจิตสาธารณะและแบบบันทึกพฤติกรรมจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเที่ยงตรง และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการสอนได้รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งประกอบด้วย 1) ทฤษฎี หลักการ แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมพร้อมรับรู้ ขั้นที่ 2 พินิจตัวแบบจิตสาธารณะ ขั้นที่ 3 พิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ขั้นที่ 4 มุ่งสู่การปฏิบัติ ขั้นที่ 5 สะท้อนกิจกรรม 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนการสอนตามรูปแบบ 2. ผลการเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนพบว่า จิตสาธารณะทั้งสองด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
Ministry of Education. (2008). Core curriculum for basic education, 2008. Bangkok: Assembly Printing House, Agricultural Cooperative of Thailand Limited.
กีรติวิทย์ สุวรรณธรรมา. (2552). รายงานวิจัยการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนจิตสาธารณะของครูประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. ขอนแก่น: [ม.ป.พ.]. (เอกสารอัดสำเนา).
Kiratiwit Suwannathama. (2009). Research report on current conditions Problems and needs in The management of public mental teaching of elementary school teachers Under district office Khonkaen Primary Education, Region 5. Khon Kaen: [P.P.R.]. (Copy document).
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2552). แผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญา ระดับอนุบาล เล่ม 6.กรุงเทพฯ : มิตรสัมพันธ์.
Kulaya Tantipolchewa (2009). Activities for kindergarten learning activities,
Volume 6. Bangkok: Friendly Relations.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Thit Na Khemmanee. (2017). Science of teaching knowledge to organize effective learning processes. Bangkok: Chulalongkorn University
ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ.(2551).ชุดความรู้การอบรมกระบวนการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เล่ม 2 การทำงานอาสาสมัคร (Volunteer Spirit). ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Thananil Chaiyawit And Faculty. (2008). Knowledge Series, Training Process, Contemplative Education Concept, Book 2 Volunteer Spirit. Moral Promotion and Development Center (Moral Center) Office of Knowledge Management and Development (Public organization). Bangkok: Sweet chili graphic.
บุณิกา จันทร์เกตุ.(2558) การสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย. ค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 จาก. http://www.volunteerspirit.org/node/8141.10 มกราคม 2554
Bunika Chanket. (2015) Creating public mind in Thai society. Searched on 2
November 2018 from. Http://www.volunteerspirit.org/node/8141.10
January 2011
ปัณพร ศรีปลั่ง.(2559). การพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษา ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Panaporn Sriplang. (2016). Development of activities to promote public mind for education students Maha Sarakham Rajabhat University Doctor of Philosophy Program in EducationalTechnology, Faculty of Education, Burapha University.
แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2559 – 2564.ค้นเมื่อวันที่ 12
พฤษภาคม2562. จาก https://www.mo-culture.go.th/yala/
download/article/article_20180720153045.pdf
ศิริธร ศรีจำนง.(2557). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวจิตตปัญญาศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Sirithorn Srichamnong.(2014). Curriculum Development for Public Consciousness Promotion for Secondary School Students Initially according to contemplative education. Doctor of Philosophy Department of Innovation Curriculum and Learning Maha Sarakham University
อรนิตย์ ภูเขียว. (2560). การพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์หลักสูตรหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
Oranit Phukhiew. (2017). Developing activities to enhance public mind for grade level students. Lower Secondary School under the Office of the Basic Education Commission. Doctor of Philosophy Program Educational Research and Development Program, Pibulsongkram Rajabhat University.