แนวทางการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสระบุรีเขต2

ผู้แต่ง

  • จริยา ตรุษฎี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ชัยอนันต์ มั่นคง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนร่วม, เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 2)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา จาก 136 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร และแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า 1)การจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2)แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า นักเรียนพิเศษที่มีโอกาสเรียนร่วมกับนักเรียนปกติทั่วไปตามศักยภาพ และโรงเรียนมีการจัดให้นักเรียนพิเศษเข้าเรียนแต่ละชั้นอย่างเหมาะสมตามระดับความสามารถ  ในด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนได้มีการจัดสื่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและอื่นๆ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนพิเศษเรียนร่วม โดยมีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ในด้านเครื่องมือ นักเรียนพิเศษเรียนร่วมได้รับสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของตนเอง และโรงเรียนได้ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะการทำสื่อทางการศึกษาพิเศษ

References

Chonthanon, B. (2002). Fundamental Knowledge About Inclusive Education. Teaching Document of Inclusive Education. Bangkok: Office of Teacher Training Development, Office of Rajabhat Institutes Council, Ministry of Education.

Constitution of the Kingdom of Thailand. (2007). Government Gazette, Royal Decree. (1999). Volume 124, Section 47 A, Page 15.

Jetjamnongnuch, W.,Wisetsuvarnabhumi, P.,Tantichalerm, C., and Tinhama, D. (2012).Professional Standards of Special Education Teacher (Research Report), Bangkok: Bonus Prepress.

Office of the Basic Education Commission. (2007).The Constitution of the Kingdom of Thailand 2007. Bangkok: LadpraoTeachers Council of Thailand.

Office of the National Education Commission Office of the Prime Minister. (1999).National Education Act 1999 Amendments (Version 2) 2002. Bangkok: Office of the National Education Commission Office of the Prime Minister.

Payomyam, R. (2010). Administration of the Leading School of Inclusive Education of Children with Disabilities in Normal Schools of Bangkok. (Master of Education Thesis). Educational Administration Silpakorn University.

Poonpisai, R. (2013). Statement of Problem and Guidelines for the Inclusive Educationin the Leading School of Inclusive EducationAffiliated with of Narathiwat Primary Educational Service Area Office. (Master of Education Thesis). SongkhlaRajabhat University.

Rueangngam, S. (2012). Study of Inclusive Education Administration of the Leading School under the Bangkok Metropolitan Administration. (Master of Education Thesis). Srinakharinwirot University.

Suwanchot, P. (2010). Problems in Inclusive Education Administration by SEAT Framework of Learners and Environment in the Leading School of Inclusive EducationAffiliated with NakhonSawan Educational Service Area Office. (Master of Education Thesis). Naresuan University.

Watcharanurak, S. (2010). Study of Inclusive Education Administration by SEAT Framework as the basis for the Leading School of Inclusive Education of Songkhla Province. (Master of Education Thesis). SongkhlaRajabhat University.

Yamnam, C. (2017). A Study of Inclusive Education Model of the School Administrators in Primary Inclusive Education in Bangkok and Perimeter Area. (Master of Education Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-09-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย