การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สมชาย ชูเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างเครือข่าย, การต่อต้านทุจริต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้นำองค์กร ภาครัฐ ภาคประชาชนและพระสงฆ์ จำนวน 18 รูป/คน นำผลการวิจัยมาสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี มี 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายที่แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และเครือข่ายที่เกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง 2) การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี มี 7 กระบวนการดังนี้ 1. การสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบ 2. การสร้างอุดมการณ์ผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ 3. การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 4. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรรักความซื่อสัตย์และความยุติธรรม  5. การวางแผนการป้องกันการทุจริต 6. การส่งเสริมและดำเนินการเฝ้าระวังการทุจริต 7. การสรุปบทเรียนประเมินผล และ3) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี ตามแบบ 7 ส  2 ว  1 ย  มีดังนี้ 7 ส คือ  ส.1 ส่งเสริมบทบาทของสภา, ส.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน, ส.3 สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน, ส.4 สร้างกลไกเชื่อมประสานองค์กรกลางกับทุกภาคส่วน, ส. 5 สร้างตัวอย่างที่ดี, ส.6 สร้างสังคมหิริโอตัปปะ, ส. 7 สนับสนุนการร้องเรียนผ่านระบบ,  2 ว  คือ  ว.1  วางแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต, ว.2 วางหลักเกณฑ์การได้มาของผู้บริหาร 1 ย  คือ   ย.1 ยอมรับการตรวจสอบด้วยระบบ

References

กิตติชัย รัตนะ. (2549). การมีส่วนร่วมในการจัดการลุ่มน้ำ. กรุงเทพมหานคร : คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ส.เอเชียเพลส.

จันทร์เพ็ญ เฟื่องวงษ์ และคณะ. (2550). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายภาคประชาสังคมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. ใน รายงานวิจัย. หลักสูตรนักบริหารเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริต : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต.

ธนา ประมุขกุล. (2547). บทความปริทัศน์. ขอนแก่น : ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 6.

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ และคณะ(2555). การวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการทุจริตเชิงนโยบาย (Research for Studying Forms of Policy Corruption). ใน รายงานวิจัย คณะอนุกรรมการฝ่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.).

พรกมล ระหาญนอกและคณะ. (2550). สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย.ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์, ภักดี โพธิ์สิงห์ และสัญญา เคณาภูมิ. (2559). การคอรัปชั่นในระบบราชการไทย : แนวทางการป้องกันและแก้ไข. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4(2), 326.

มยุรี วรรณสกุลเจริญ และ ชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 193-204.

ศราวุธ จิตต์ระเบียบ. (2550). การเสริมสร้างเครือข่ายภาคประชาชน ในการบริหารงานสถานีตำรวจนครบาล.ใน รายงานวิจัย. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมคิด เลิศไพบูลย์และคณะ (2555), รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

สหัทยา วิเศษ. (2547 ). องค์การเครือข่ายในจังหวัดพะเยา. ใน รายงานการวิจัย. สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สินธ์ กีรตยาคม. (2544). ปัญหาการคอรัปชั่นในองค์การปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดระยอง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสรี พงศ์พิศ. (2536). วัฒนธรรมพื้นบ้าน : รากฐานพัฒนา, ภูมิปัญญาชาวบ้าน : กับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิหมู่บ้านอัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด.

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2547). เอกสารการสอนการเสริมสร้างพลังอำนาจในระบบบริการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Thai BDS net (2016). Retrieved July 20, 2016 from https://sites.google.com/a/ thaibds.net/bdsn/khwamhmaykhxngkheruxkhay

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย