สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาทุกโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 104 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารระดับสูงด้านการศึกษาและนักวิชาการด้านการศึกษา ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัด ลำดับความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สมรรถนะการบริหารการเปลี่ยนแปลง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีการกำหนดทิศทางของสถานศึกษา ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ศึกษาเทคนิควิธีกระบวนการต่างๆ ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สมรรถนะการร่วมแรงร่วมใจ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา บริหารงานโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม สร้างความสามัคคี ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน ช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจ โดยการจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสมรรถนะ การมีมนุษยสัมพันธ์ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับภาคีเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนสถานศึกษา มีการกำหนดแผนงานในการส่งเสริมให้ครูและนักเรียนออกไปสร้างความ สัมพันธ์ช่วยเหลือชุมชนด้วยวิธีการต่างๆ ในการให้ความรู้ด้านทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ
References
กรกต ขาวสะอาด. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 7(3 ), 507-528.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภิชาพัชญ์ โหนา. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน
สุทฤศยา สุขสําราญ. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารในการพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาส เครือข่ายการจัดการศึกษาที่ 3 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง สู่ศตวรรษที่ 21.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
Hoy, W K. and Miskel, C. G. (2008). Educational Administration: Theory Research and Practice. (8th ed. ). Singapore: McGraw – Hill.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competency at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.