ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4

ผู้แต่ง

  • ธงชัย ตาพาลี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารโรงเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 43 โรงเรียน จำนวน 364 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content  Analysis)ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การสร้างบารมี รองลงมาคือ การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล การสร้างแรงบัลดาลใจ และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การกระตุ้นเชาวน์ปัญญา และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 พบว่า (1) การสร้างบารมี ผู้บริหารโรงเรียนสร้างความประทับใจที่ดีให้ครูในโรงเรียน พัฒนาตนเองให้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างต่อเนื่อง  (2) การสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารโรงเรียนพัฒนาตนเองให้เป็นที่ยอมรับนับถือของครูในโรงเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และมีการเสริมสร้างเจตคติที่ดีให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับรู้และเกิดความศรัทธา (3) การกระตุ้นเชาว์ปัญญา ผู้บริหารโรงเรียนกระตุ้นให้ครูตระหนักว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเป็นโอกาสที่ดีต่อการฝึกฝนตนเอง ส่งเสริมและมอบหมายงานให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับผิดชอบงานตรงตามความสามารถของตนเอง (4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารโรงเรียนเอาใจใส่ต่อปัญหาการปฏิบัติงาน ปัญหาส่วนตัว      โดยการศึกษา วิเคราะห์ หาแนวทางติดตาม ช่วยแก้ไขปัญหาของครูและบุคลากรทุกคนอย่างใกล้ชิด

 

 

References

ขำจิตร วุฒิศักดิ์. (2552). พฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทษวรรณ ปิ่นทอง (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

นฤมล โยคานุกุล. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สุขุม จูสนิท. (2557). ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุวรรณา สว่างมาลี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในเขตอำเภอวังสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Developing transformational leadership: 1992 and beyond. Journal of Europena Industrial Training, 5(10), 21-27.

Cronbach, Lee J. (1978). Essential of psychological Testing. New York: Herper & Row Publishers.

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership. New York: Free Press.

Yamane, T. (1960). Elementary Sampling Theory. USA: Prentice.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย