การเสริมแรงทางลบโดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
การเสริมแรงทางลบ, ผู้อำนวยการโรงเรียน, มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบของการเสริมแรงทางลบโดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบของการเสริมแรงทางลบโดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการสุ่มแบบแบ่งประเภท ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 325 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามเพื่อยืนยันองค์ประกอบของการเสริมแรงทางลบโดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการเสริมแรงทางลบโดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ (1) องค์ประกอบกลยุทธ์ในการสื่อสาร ประกอบด้วยตัวแปรย่อย 4 ตัวแปร คือ (1.1) การเลือกใช้คำสั่ง (1.2) การควบคุม (1.3) การสื่อสารที่เหมาะสม และ (1.4) การตำหนิ (2) องค์ประกอบการใช้อำนาจ (3) องค์ประกอบการควบคุมอารมณ์ (4) องค์ประกอบการกระตุ้นพฤติกรรมการทำงาน และ (5) องค์ประกอบการปรับพฤติกรรม
2) ผลการยืนยันองค์ประกอบการเสริมแรงทางลบโดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
References
พนัส หันนาคินทร์. (2524) หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 7-8.
มติชน. (11 ธันวาคม 2553). เผยสถิติฟันวินัย'ครู'ย้อนหลัง 3 ปี [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศิจกายน 2560.
เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID=21625&Key=hotnews
วันวิสาข์ พวงมะลิ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้) จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สุระชัย เอี่ยมสะอาด. (2557). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนหัวหินวิทยาคม. (การค้นคว้าอิสระวิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา. (2557). จัดการลูกน้องให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ทำอย่างไร. เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2561. เข้าถึง ได้จาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2557.
http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000027835
Bonow, Jennifer A. C., Choice and Negative Reinforcement: The Effects of Amount,Delay and
Probability. (Ph.D. Dissertation International, University of Nevada, Reno, 2012), Abstract.
Comer, Cheryl Lejewell. Benefits of the task for the delivery of negative feedback. (Ph.D.
Dissertation International,
Kansas State University, 2007), Abstract.
Earl, Laurie., Bates Paul R. , Murray Patrick S. , A. Ian Glendon, Peter A. Creed.(2012, Jan).
“Developing a Single- Pilot Line Operations Safety Audit”. Aviation Psychology and
Applied Human Factors. Vol. 2, Issue 2, pp. 49-61
Fay Giæver, (2010). “Negative experiences of organizational change from an emotions
perspective A qualitative study of the Norwegian nursing sector” Nordic Psychology. 62,
pp. 37-52
French, John R.P. Jr., and Raven, Bertram H.,.(1959). The Bases of Social Power,” in D. Cartwright,
ed. Studies in Social Power. (Ann Arbon : University of Michigan Institute for Social Research, 141, 150 – 157.
Hersey Paul and Blanchard Kenneth H., (1974). Management of Organization Behavior. (New
Delhi : Prentice-Hall of India Peivate Limitet, p.68.
Hicks, Hertbert G., (1967). The Management of Organization. (New York : McGraw Hill Book
Company, 1967), 234.
Luthans, Fred. and R. Kreitner,. (1985). Organizational Behavior Modeification and Beyond.
Glenview, IL: Scott, Foresmean,
MacAleese, Alicia N., (2008). Negative reinforcement and self-control in adult humans. (Ph.D.
Dissertation International, University of Nevada, Reno, Abstract.
Martin, Garry L, and Pear, Joseph. (1996). Behavior Modification: What it is and How to do it. (5th
Ed.).(New Jersey: Prentice – Hall Inc. p.180.
McClelland. (1970). “The Two Face of Power,” Journal of International Affairs. 24: 29-47.
Miltenberger, Raymond G. (2002). Behavior Modification : Principles and Procedures. (3rd ED.) (CA, Belmont: Wadsworth Publishing, p.75.
McIntyre, Geoffrey Lawrence. (2002). Differential reinforcement, drinking, and ‘readiness to
change’: An application of social learning theory. (Ph.D. Dissertation International, Mississippi State University, 2002), Abstract.
Skinner, B.F. (1965). Science and Human Behavior. (New York: Macmillan, pp.73.
Steelman, Lisa A. , Rutkowski, Kelly A. (2004). "Moderators of employee reactions to negative
feedback", Journal of Managerial Psychology. Vol. 19 Issue: 1, pp.6-18.
Thompson, Rachel H; Bruzek, Jennifer L; Cotnoir-Bichelman, Nicole M.(2011, Summer). The role
of negative reinforcement in infant caregiving: An experimental simulation. Journal of Applied Behavior Analysis; Malden. Vol. 44 Issue: 2 , pp. 295-304.