ประสิทธิภาพการจัดการการเก็บค่าผ่านทางตามเวลามีผลต่อการใช้ทางพิเศษ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ จำปาเงิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การจัดการ, ประสิทธิภาพ, การจัดเก็บค่าผ่านทาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดการการเก็บค่าผ่านทางตามเวลามีผลต่อการใช้ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเก็บค่าผ่านทางตามเวลากับประสิทธิภาพการจัดการเก็บค่าผ่านทางตามเวลาที่มีผลต่อการใช้ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-Test ANOVA และ ความสัมพันธ์ของ Pearson Correlation

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของการจัดการการเก็บค่าผ่านทางตามเวลาในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 3.483) และระดับประสิทธิภาพในการจัดการในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.485)  และปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ความถี่ในการใช้รถต่อสัปดาห์ และช่วงเวลาใช้ทางพิเศษเร่งด่วนเย็น ที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการแตกต่างกัน แต่ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ปริมาณการใช้ทางพิเศษต่อสัปดาห์ ช่วงเวลาใช้ทางพิเศษเร่งด่วนเช้า ค่าใช้จ่ายในการใช้ทางพิเศษต่อเดือน และทางพิเศษที่ใช้เดินทางมากที่สุด ที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการ ไม่แตกต่างกัน

          2) ผลการศึกษาการจัดการการเก็บค่าผ่านทางและประสิทธิภาพการจัดการในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูง ในแต่ละด้านนั้นจะมีความสัมพันธ์ดังนี้ ด้านการตอบสนองความคุ้มค่าของผู้ใช้ทางพิเศษโดยมีความสัมพันธ์ร้อยละ 85.20 ด้านการมีคุณภาพของการจัดเก็บค่าผ่านทาง ด้านมีความรวดเร็วในการจัดเก็บค่าผ่านทาง และด้านใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับค่าผ่านทาง มีความสัมพันธ์เท่ากับร้อยละ 80.90, 77.00, 74.50 และ 75.40 ตามลำดับ

 

References

จิตติชัย รุจนกนกนาฏ. (2561). ระบบการขนส่ง (Transportation system). กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนา หลวักประยูร. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/178604
วาสนา เจริญสอน. (2552). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 33-44.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). (Principles of Management). กรุงเทพมหานคร: วิจิตรหัตถกร.
ศาสตร์ศิลป์ ทองแรง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานี. เข้าถึงได้จาก Thalis: http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=14888
อภิชัย จตุพรวาที. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัครเดช ไม้จันทร์. (มกราคม – มิถุนายน 2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561), 95-121.
LJ Cronbach. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Taro Yamane. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. 2nd ed. Tokyo: Harper International Edition

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-06-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย