ความสมดุลของการบริหารจัดการสุขภาวะองค์กร

ผู้แต่ง

  • พระครูโกวิทบุญเขต โกวิทบุญเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อำนาจ ทาปิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พิมพ์พร แสนคำหล้า

คำสำคัญ:

องค์กรสุขภาวะ, โควิด-19

บทคัดย่อ

สุขภาวะองค์กร คือ ลักษณะรูปแบบขององค์กรแห่งความสุข ความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน และความเมตตากรุณาต่อกันระหว่างองค์กรกับทรัพยากรมนุษย์หรือบุคลากรขององค์กร บนพื้นฐานของความสมดุลของการบริหารจัดการสุขภาวะ ในบทความนี้คำว่า “สุขภาวะ” หมายถึง “สุขภาพ” ทั้งทางร่างกายและจิตใจภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 ในปัจจุบัน ซึ่งทุกองค์กรต่างเผชิญกับสถานการณ์และมีมาตรการในการรับมือป้องกันที่แตกต่างกันในรูปแบบการบริหารจัดการ

ความสมดุลของการบริหารจัดการสุขภาวะองค์กร ตามหลักการองค์กรแห่งสุขภาวะและองค์กรแห่งความสุข ในลักษณะการได้ผลประโยชน์ร่วมกัน win – win ระหว่างองค์กรกับทรัพยากรมนุษย์หรือบุคลากรขององค์กร ด้วยการกำหนดนโยบาย สร้างมาตรการในการป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 โดยมีทฤษฏีความต้องการของมาสโลว์ เป็นพื้นฐานสำคัญ ตามหลักการแห่งพระพุทธศาสนาที่ยืนยันในศักยภาพของมนุษย์ ว่ามนุษย์มีศักยภาพสูงสุดได้ด้วยการพัฒนา ตามแนวทางการพัฒนาสุขภาวะองค์กร โดยเน้นความใส่ใจและความตระหนักขององค์กรในการสร้างความสามารถให้กับทรัพยากรมนุษย์หรือบุคลากรขององค์กรในจัดการสุขภาพตนเองได้ ด้วยความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน และความเมตตากรุณาต่อกันของทรัพยากรมนุษย์หรือบุคลากรขององค์กรทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายแนวทางการบริหารจัดการองค์กรที่เห็นความสำคัญและตระหนักถึงสุขภาวะ หรือสุขภาพ ในการกำหนดมาตรการส่งเสริมป้องกันสุขภาวะ และเสริมพลังในการบริหารจัดการสุขภาวะองค์กรให้เกิดความสมดุล

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2558). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา.กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย. (2562). กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารศิลปการจัดการ, 3(3),190-204

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (มปป). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560). การส่งเสริมสุขภาพจิต:

แนวคิด หลักฐาน และแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: แผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต.

Greed is Good. (30 กันยายน 2562). ทฤษฏีมาสโลว์ คือ อะไร Maslow Hierarchy

Needs. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563, จาก https://greedisgoods.com

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (14 พฤษภาคม 2555). สุขภาวะองค์กร คือ อะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563, จากhttps://www. thaihealth.or.th/Content

สมศักดิ์. (2552). (1 ธันวาคม 2552). Empowerment กับการเสริมพลังสร้างสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563, จากhttps://www.doctor.or.th/article/ detail/10287

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ