การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R
คำสำคัญ:
การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, SQ4Rบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ครูผู้สอนเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาความสามารถของครูผู้สอนในการปฏิบัติการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R 3) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความรู้ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R หลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้สูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ 2) ครูผู้สอนมีความสามารถการปฏิบัติการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ในระดับดีมาก 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 79.06 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 81.90 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.20 4) ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กานต์ธิดา แก้วกาม. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Kaewkam, K. (2013). A Comparison of Reading Comprehension Achievement of Matthayomsuksa I Students Taught by Using SQ4R Method and Traditional Method. Master’s thesis Thai Language Teaching Silpakorn University.
ขนิษฐา ทวีศรี. (2557). “ผลการเรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการการอ่านการเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Taweesri, Kh. (2014). The Effects of Cooperative Integrated Reading and Composition Through Social Media on Competency of Essay Writing of Pratomsuksa 6 Students. Master’s thesis Thai Language Teaching Silpakorn University.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(1), 34 – 41.
Phuangsomjt, C. (2017). Professional Learning Community and Guidelines for Application in Education Institution. STOU Education Journal, 10(1), 34 – 41.
ดนยา วงศ์ธนะชัย. (2542). การอ่านเพื่อชีวิต. พิษณุโลก: คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
Wongthanachai, D. (1999). Reading for Life. Phitsanulok: Faculty of Humanities Pibulsongkram Rajabhat University.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Taweerat, P. (2000). Reserch Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วิทยบริการ, 25(1), 93 – 97.
Chookamnerd, W. (2014). Profession Learning Community of in School for Teacher Professional Development Based on Learner Centered Approach. Acedemic Services Journal, 25(1), 93 – 97.
สมพร มันตะสูตร . (2534). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
Mantasutr, S. (1999). Teaching Thai Language. Bangkok: Odeon Store.
สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
Sinthapanon, S. (2001). The Learning Process Based on Student Centered According to Basic Education Curriculum. Bangkok: Aksorncharoentat.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2554). เฟซบุ๊ก : การใช้สื่อเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือทางการศึกษา. เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2561. เข้าถึงได้จาก http://www.addkutec3.com/wp-content/2011/11facebook.pdf.
Pahe, S. (2011). Facebook : Using Social Network Media as an Education tool. Cited 2018/June/22. Available from http://www.addkutec3.com/wp-content/2011/11facebook.pdf.
Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvemen. Dissertation Abstracts International, 512, 476 – 6861.