ภาวะผู้นำสตรีนักบริหาร ยุค 4.0
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, สตรี, นักบริหาร ยุค 4.0บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อภาวะผู้นำสตรีนักบริหาร ยุค 4.0 2)เพื่อศึกษาปัญหา/อุปสรรคของภาวะผู้นำสตรีนักบริหาร ยุค 4.0 เป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาเป็นอย่างดี จำนวน 18 คน ใช้วิธีคัดเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และทำการวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อภาวะผู้นำสตรีนักบริหาร ยุค 4.0 ได้แก่ 1.1. ด้านการวางแผนจัดองค์การ 1.2 ด้านการนำ : ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์การเชื่อมั่นว่าจะนำองค์การและทีมงานไปในทิศทางที่ดีขึ้น และ 1.3 ด้านการควบคุม : ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และบริหารงานโดยคำนึงความสุขทางใจด้วย 2) ปัญหาและอุปสรรคปัจจัยทั่วไป 3.1 ด้านจิตใจ : มีส่วนสำคัญในการทำงาน ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการปลูกฝังความคิด 3.2 ด้านสังคม : สังคมปัจจุบันยังคงปิดกั้นศักยภาพและความสามารถของสตรี 3.3 ด้านภูมิหลัง : มีอิทธิพลต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ของบุคคล 3.4 ด้านการสนับสนุนจากองค์การ : มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำสตรีในเรื่องของผลการปฏิบัติงาน แรงบันดาลใจในการทำงาน ด้านความรู้ และโอกาสก้าวหน้าในสายงาน สามารถนำลวิจัยไปปรับใช้โดย ผู้นำสตรีในยุค 4.0 ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเปลี่ยนแปลงด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรวมทั้งภาษาและเทคโนโลยีเพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้บุกเบิก สร้างความแตกต่าง และมองเห็นภาพองค์การในอนาคตได้ล่วงหน้า
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2554). บทบาทสตรีไทยกับการบริหารภาครัฐในอนาคต. วารสารจันทรเกษม
กมลพร กัลยาณมิตร. (2560). แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ สำนักพัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ.
ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ : ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2559.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545).สตรีนิยม : ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20.กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. สารปีที่ 17 ฉบับที่ 33 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554.
สุเทพ พงษ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส (1989). http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640476
Sargent, Alice G. (1981). Notes from the Field Changing Male Female Relationship in Organization. Nursing Management, Vol. 17 No.5 (May 1986).
Thomas J. Sargent & Neil Wallace. (1981). Some Unpleasant Monetarist Arithmetic. Quaterly Review : Federal Reserve Bank of Minneapolis, Issue Fall.
Wall, Robert. G. & Hugh, Hawkins. (1984). Management. San Francisco : McGraw-Hill.
Whelehan, Imelda. (1995). Modern Feminist Thought. New York : New York University Press. Yukl, Gary A.
Yenjit Thinkham.(2009).Cross-Cultural of Thai Women with Japanese Men. Master of Arts in Development Sociology. Graduate School Khon Kaen University.Khon Kaen. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.