การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) แนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา เป็นแบบเช็ครายการ จำนวน 41 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมาก ไปหาน้อย ดังนี้ การมีส่วนร่วม การสร้างภาคีเครือข่าย การประชาสัมพันธ์ และการบริการชุมชน ตามลำดับ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ด้านการบริการชุมชน มี 4 แนวทาง ดังนี้ 1) ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีบทบาทหน้าที่มากขึ้นเพื่อจะช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนดีขึ้น 2) โรงเรียนควรมีส่วนร่วมในชุมชนทุกวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ 3) โรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้ข่าวสารภายในโรงเรียนเพื่อให้ทราบข้อมูลและกิจกรรมต่าง ๆ และ 4) โรงเรียนควรเปิดให้ชุมชนเข้ามาใช้สถานที่ภายในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นอาคารเรียนหรือสนามกีฬาเพื่อให้ชุมชนได้รู้จักโรงเรียนมากขึ้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการสรรหาและการเลือกคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Ministry of Education. (2003). Guide to Recruiting and Choosing Basic Educational Commission. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์.
Ministry of Education. (2003). National Education Act B.E. 2542 and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand.
กมลรัตน์ จันทโชติ. (2556). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านคลองมะขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Chanthachote, K. (2013). The Model Development of the Relationship Communities and Banklongmakham School under Trad Primary Educational Service Area Office. Master of Education Thesis. Burapa University.
ดาวประกาย สายแก้ว. (2556). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนวังทับไทร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Saikaew, D. (2013). The Model Development of the Relationship Communities and Wakthabsai School under Chantaburi Primary Educational Service Area Office 2. Master of Education Thesis. Burapa University.
ประสิทธิ์ เผยกลิ่น. (2556). รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Peiklin, P. (2013). Model of Communities Relationship Administration of Basic Education Schools. Master of Education Thesis. Suandusit Rajchabhat University.
พนิจดา วีรชาติ. (2552). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Weerachart, P. (2009). The Model Development of the Relationship Communities and School. Bangkok: Odeon Store.
พลพัต ชนะชนกุล. (2556). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านบึงตะกู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Chanachonkul, P. (2013). The Model Development of the Relationship Communities and Bungtakoo School under Chachoengsao Primary Education Service Area. Master of Education Thesis. Burapa University.
ภาวิณี สุขเกษม. (2555). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Sukkasem, P. (2012). The Model Development of the Relationship Communities and Nikomsangtonengjangwatrayong1 School under Rayong Primary Educational Service Area Office 1. Master of Education Thesis. Burapa University.
วริศรา บุญมี. (2555). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Boonmee, W. (2012). The Model Development of the Relationship Communities and Chonburi Provincial Administrative School. Master of Education Thesis. Burapa University.
ศุภรัตน์ ปุ้งข้อ. (2558). สภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Pungkho, S. (2015). A Study of Existing Administration on The Relationship Between Schools and Communities of Educational Opportunity Expansion Schools of Khao Chakan Cluster Under The Sakaeo Primary Educational Service Area Office 1. Master of Education Thesis. Burapa University.
สมนึก พงษ์สกุล. (2556). ปัจจัยและรูปแบบยุทธวิธีการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Pongsakul, S. (2013). Factors and model of school-community relations strategies. Doctor of Philosophy Thesis. Silpakorn University.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559).กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.
Office of the Education Council. (2010). National Education Development Plan, Issue 11, 2012-2016. Bangkok: Prikwan Grapphic.
Fred C. Luneburg and Allan C. Ormstein. (2007).Educational Administration: Concepts and Practices. (5 ed.). CA: Wadsworth Publishing.