การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา
คำสำคัญ:
การพัฒนาบุคลากร, กระบวนการ, การนิเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา มีการดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามกระบวนการและวิธีการพัฒนาบุคลากรดังนี้ 1) กระบวนการปฐมนิเทศ เป็นวิธีการพัฒนาโดยทำการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่จัดทำแผนการปฐมนิเทศคู่มือการปฐมนิเทศและการดำเนินการปฐมนิเทศเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนการปฐมนิเทศต้องมีการประเมินและสรุปผลการพัฒนาบุคลากร 2) กระบวนการสอนงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจแต่ผู้ที่พัฒนาขั้นตอนการสอนต้องฝึกปฏิบัติและแก้ไขข้อผิดพลาดทันทีในขณะการสอนงานจะต้องสรุปและประเมินผลการสอนงาน 3) กระบวนการประชุม อบรม และสัมมนา เมื่อเสร็จสิ้นการพัฒนาแล้วจะต้องจัดทำแบบสรุปความรู้ในการไปพัฒนา 4) กระบวนการศึกษาดูงาน จะต้องได้รับการอนุมัติจากต้นสังกัดและจัดทำคำสั่งศึกษาดูงาน จัดทำเอกสารประกอบการดูงานเมื่อเสร็จสิ้นต้องจัดทำแบบรายงานการศึกษาดูงานเสนอสอบผู้บริหาร 5) กระบวนการศึกษาต่อ เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารบุคลากรจึงจะเข้ารับการศึกษาต่อได้เมื่อจบการศึกษาแล้วต้องจัดทำแบบขอกลับเข้ารับราชการดังเดิม 6) กระบวนการนิเทศภายใน ได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารและจัดทำคำสั่งพร้อมแนบตารางการนิเทศภายในเพื่อแจ้งให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนทราบเพื่อที่จะได้รับการนิเทศตามวันและเวลาที่กำหนด
References
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทศพร เบ็ญจพงษ์ และคณะ. (2546), ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร
ยนต์ ชุ่มจิตร. (2555),การพัฒนาครู. กรุงเทพฯ: โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ่าส์.
โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา. (2557). การบริหารงานการพัฒนาบุคลากร. โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา.
ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์. (2556). บทวิเคราะห์สภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Fred C. Lunenburg and Allan C. Ornstein. (2007). Educational Adminstration: Concepts and practices, 5 ed. CA: Wasword Publishing.