การศึกษาระดับการทำงานตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ระดับสถานีตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 5

ผู้แต่ง

  • นรเศรษฐ เจียมจิโรจน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.), ระดับการทำงาน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการทำงานตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ระดับสถานีตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 เป็นงานวิจัยประยุกต์ (Applied  Research) เชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากร คือ กรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ระดับสถานีตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 ทั้ง 9 สน.ๆละ 9 คนรวมเป็น 81 คน การทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ  t-test,  F-test, Multiple Comparison Test ของ Scheffe ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการทำงานในภาพรวมของ กต.ตร. ระดับสถานีตำรวจอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08   2) กต.ตร.ระดับสถานีตำรวจที่มีอายุแตกต่างกัน จะมีระดับการทำงานตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติแตกต่างกันใน 10 เรื่องจากจำนวน 20 เรื่อง  3) กต.ตร.ระดับสถานีตำรวจที่มีอาชีพแตกต่างกัน จะมีระดับการทำงานตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติแตกต่างกันใน 2 เรื่องจากจำนวน 20 เรื่อง  

References

กรรณิการ์ ประกอบทรัพย์. (2540). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนของสมาชิกสภาตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สิ่งแวดล้อมศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล.

กุสุมา เขียวเพกา. (2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในองค์การ บริหารส่วนตําบลร่อนทอง อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : การปรับกระบวนทัศน์กระบวนการยุติธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

ธนกร กรวัชรเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Kornwhacharajaroen, T. (2012). Factors Affecting Team Work Efficiency of Employees of Quality Houses Public Company Limited. Master of Business Administration Independent Study, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

บุญชู นันท์บัญชา. (2556). ทัศนคติของข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายที่มีต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ระดับสถานีตำรวจ. การศึกษาอิสระรัฐประศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

Nanbancha, B. (2013). Attitudes of Police Officers in Wiangpapao District towards Actions Roles and Authority Which of the Commission on Overseeing and Monitoring Police Administration. Master of Public Administration Independent Study, Mae Fah Luang University.

รัฐ กันภัย. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในแผนพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 465-482.

ศุภชัย ประไพนพ. (2548). บทบาทคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับสถานีตำรวจ ศึกษากรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์ และ องอาจ ปทะวานิช. (2538). กลยุทธ์การตลาดการบริหารการตลาด และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

Reiner, R. (2000). The Politics of the Police. England: Oxford University Press.

R.Stone, A. (1994). Police Administration an Introduction. United State of America: Prentice Hall Career & Technology.

Walker, S. (2018). The Police in America: An Introduction. New York: Mcgraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-11-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย