แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ของครูผู้ช่วยที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 5 ปี และ 4 ปี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21

ผู้แต่ง

  • นวลอนงค์ สมพร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

มาตรฐานวิชาชีพครู, แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ของครูผู้ช่วย ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 5 ปี และ 4 ปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21
2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ของครูผู้ช่วย ทั้งที่สำเร็จการศึกษาตาม หลักสูตร 5 ปี และ 4 ปีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21

          กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นครูผู้ช่วย จำนวน  329 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์มีทั้งหมด 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู จำนวน 1 ฉบับ มีค่าอำนาจ จำแนกรายข้อตั้งแต่

 .467 - .893 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยรวมทั้งฉบับเท่ากับ .985  แบบสัมภาษณ์ แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ สถิติพื้นฐาน

          ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

  1. มาตรฐานวิชาชีพครู ของครูผู้ช่วยที่สำเร็จการศึกษาตาม หลักสูตร 4 ปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 21 ด้านมาตรฐานความรู้ ในการใช้ภาษาและเทคโนโลยี มีการใช้ทักษะในการฟัง พูด อ่านเขียนภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับน้อย การนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ ระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง  การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน ระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง และการเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง 
  2. แนวทางการส่งเสริม

การใช้ทักษะในการฟัง พูด อ่านเขียนภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีแนวทางดังนี้ ส่งเสริมให้ครูมีการสื่อสารกับผู้เรียนเป็นภาษาต่างประเทศ มีการการสอบความรู้พื้นฐานตามมาตรฐาน Common European Framework of Reference for Languages (CEFR)  มีการพัฒนาครูใน 4 ทักษะคือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน นอกจากนี้ครูต้องเป็นนักวิชาการ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษาในเวทีนานาชาติ จัดให้มีโครงการอบรมพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และที่สำคัญอย่างยิ่งคือผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ควรทำเป็นวาระสำคัญเพื่อจะได้ส่งผลต่อการสอนที่มีคุณภาพของครูต่อไป

    การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียน และนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ควรส่งเสริมให้ครูมีความตระหนักในการเอาผลการวิจัยมาแก้ปัญหาจริง และครูก็ควรมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ นำประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน มาเป็นประเด็นในการทำวิจัย และที่สำคัญคือผู้อำนวยการโรงเรียน ควรให้โอกาสทางด้านงบประมาณ เวลา และขวัญกำลังใจ ในการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้มีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในการเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้ครูทดลองใช้นวัตกรรมทั้งในและนอกองค์กร มีการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้มีนวัตกรรมที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ครูรู้ถึงกระบวนการ การสร้างและพัฒนานวัตกรรม แบบ backward design มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ครูได้ฝึกสร้างนวัตกรรมของตัวเอง ครูควรมีโอกาสได้เข้าชมการนำเสนอหรือร่วมส่งผลงานเข้าประกวด OBEC AWARDS ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ ครูได้มีโอกาสศึกษาดูงานในสถานศึกษาที่มีความโดดเด่นในการสร้างนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ ผู้อำนวยการโรงเรียนควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ครูได้สร้างสรรค์ผลงานเป็น Best Practice ของตัวเอง

References

คณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนวิชาชีพ และองค์กรวิชาชีพสู่อาเซียนและนานาชาติ. (2557). แนวทางการขับเคลื่อนวิชาชีพครูและองค์กรวิชาชีพทางการศึกษาสู่อาเซียนและนานาชาติของคุรุสภา (พ.ศ. 2557– 2560). กรุงเทพฯ: โรงเพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 21-33.

เบ็ญจวรรณ ศิริพรชัยกุล. (2543). การศึกษาการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลนิภา ฉลากบาง. (2559). รูปแบบความสำพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 50-58.

สำนักงานเลขาธิการการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุรพล สะใบ. (2553). การปฏิบัติมาตรฐานวิชาชีพครูของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เลย เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อุดม คชินทร. (2561). เปิดแนวคิดปรับหลักสูตรผลิตครู ทางเลือกใหม่สนองโลกศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 ตุลาคม 2561 จาก: https://www.thairath.co.th/news/local/1405760 ()

อุบล สินธุโร. (2554). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย