การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะของครูฟิสิกส์ ในศตวรรษที่ 21 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • จุรีภรณ์ คำโสภา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณลักษณะครูฟิสิกส์, การพัฒนาตัวบ่งชี้, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะของครูฟิสิกส์ ในศตวรรษที่ 21 ของครูที่ทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะของครูฟิสิกส์ ในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน คือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ครูผู้สอนฟิสิกส์ ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 697 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ครูผู้สอนฟิสิกส์ ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จำนวน 635 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบวัดคุณลักษณะครูฟิสิกส์ ในศตวรรษที่ 21 ดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.271 - 0.762 ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 - 0.97 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะของครูฟิสิกส์ ใน ศตวรรษที่ 21 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบว่าประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 31 ตัวบ่งชี้ มีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง  0.564 - 0.789 ประกอบด้วยองค์ประกอบ ด้านความรู้และทักษะ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านจรรยาบรรณคุณธรรม จริยธรรมสำหรับครู องค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายคุณลักษณะของครูฟิสิกส์ ตามแนวทางทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 64.802  2) ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะของครูฟิสิกส์ ใน ศตวรรษที่ 21 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทั้ง 4 ด้าน 31 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีค่าเป็นบวก มีค่า 0.807 ถึง 0.933 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านจรรยาบรรณคุณธรรม จริยธรรมสำหรับครู และด้านความรู้และทักษะ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.933 0.923 0.879 และ 0.807 ตามลำดับ

Author Biography

จุรีภรณ์ คำโสภา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

0856463561

References

Marzano, R. J., Pickering, D.J. & Pollock, J. E. (2001). Classroom Instruction that Works: Research-based Strategies for Increasing Student Achievement. Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.

Nakin, S. (2012). A Study of Group Working Behavior Achievement of Students Year 2 Faculty of Education, Nakhon Ratchasima Rajabhat University by Cooperative Learning. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Naowarangsi, N., Soinam, S. & Homsin, N. (2019).The Development of Teacher Leadership Indicators for Secondary School teachers in the 2st Century under the Office of the Basic Education Commission in Northeast Region. Social Sciences Research and Academic Journal, 14(1), 65-78.

Nuangchalerm, P. (2015). Learning Science in the 21St Century. Bangkok: Chulalongkorn University.

Panthong, W. (2013). A Model for the Development of Student Oriented Teachers in the School under Jurisdiction of Primary Education Service Areas. Journal of Education Naresuan University, 15(sp), 193-205.

Phrasamu Narit Narinto. (2019). Teacher Development for Quality of Learners in the 21St Century. Journal of Graduate MCU khonkaen Campus, 6(3), 459-473.

Sungsimma, P. & Somprach, K. (2016). Teacher Quality Factors Affecting the Desirable Characteristics of Students in the 21th Century. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 10(3), 103-109.

Suttiwan, S. & Phusee-orn, S. (2018). Development indicator features elementary science teacher in 21st century schools under the Primary Education Service Area Office, Udon Thani. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 24(1), 330-345.

Thanaphatchottiwat, S. et al. (2018). The Development of Teaching Professional Experience Model for Enhancing the Required Characteristics of Teacher in the 21st Century. Journal of Education Naresuan University, 17(1), 33-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-01-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย