ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • Arunee Boonyanukul คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:  การพัฒนาทักษะ, การคิดวิเคราะห์, การละเล่นพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้เป็นตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/80 (2) ศึกษาผลการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนบ้านเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากห้องเรียน ซึ่งมี 3 ห้องเรียน เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest - Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ E1/E2 และการทดสอบค่าเฉลี่ย t-test แบบ Dependent Paired-Sample t-test  ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.89/82.44 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/80 2) ผลการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมนักเรียนมีทักษะอยู่ในระดับดี และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนา อยู่ในระดับมาก

References

กนกวรรณ ทองตำลึง, อนุกูล พลศิริ และ เหมือนแพร รัตนศิริ. (2561). การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยภาคเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1).
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย: หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
พนม วิเศษชาติ. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการคูณ โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤดี ชยเดช. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทยโดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร จังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษาที่มักถูกนำมาใช้พัฒนาด้านการเรียนการสอน. เอกสารประกอบการสอนทางกายภาพบำบัด ภาคต้น ปีการศึกษา 2556. คณะเทคนิคการแพทย์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา กล่ำเจริญ. (2553). เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2558). พัฒนาทักษะภาษา พัฒนาความคิดด้วยกิจกรรมการเล่นประกอบการสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษณีย์ สื่อมโนธรรม. (2555). เกมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาอารมณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Henricks, (2015). Play as Experience. American Journal of Play, 8(1). สืบค้นจาก https://csusm dspace.calstate.edu.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย