การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี เปี่ยมอยู่ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การอ่านวิเคราะห์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ระดับมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561  จำนวน  35  คน  โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling) วิธีการจับสลาก กำหนดระยะเวลาในการทดลอง 6  สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง  เป็นเวลา  12  ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์  และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05  2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

ญดาภัค กิจทวี. (2551). การศึกษาผลการเรียนรู้และทักษะการแก้ปัญหา เรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกียรติกำจร กุศล. (2554). รวมบทความ PBL ฉบับพิเศษ การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ดีชัย.
ประเทิน มหาขันธ์. (2530). การสอนอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ม.6 จำแนกตามรายมาตรฐานการเรียนรู้ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10. เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2559. เข้าถึงได้จาก http://www.niests.or.th
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชั่น.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ประทีป วาทิกทินกร. (2533). การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย