การพัฒนาระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ระบบประเมิน, แผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพดำเนินการระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) พัฒนาระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ 3) ทดลองใช้และประเมินระบบแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับคณะ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง จำนวน 392 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และผู้เชี่ยวชาญวิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะรูปแบบการประเมินและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ จำนวน 17 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพดำเนินการระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การกำหนดกรอบในการประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กระบวนการในการประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ คุณภาพการวัดในการประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2) ผลการพัฒนาระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ตรวจสอบความสอดคล้อง พบว่า การพัฒนาระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกรายการ และทุกรายการผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน
3) ผลการประเมินระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อนำไปใช้ประเมินในคณะกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ระบบประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: การพัฒนา; ระบบประเมิน; แผนยุทธศาสตร์ระดับคณะ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
References
กล้า ทองขาว. (2548). การนำนโยบายและแผนการศึกษาไปปฏิบัติ : แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางการดำเนินงาน. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช
Thongkhaw, K. (2005). The Implementation of education policies and plans: Concepts, theories and guidelines in progress.Textbook promotion project Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi: Sukhothai Thammatirat Publishing
ดุริยะ จันทร์จำปา. (2553). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Chanchampa, D. (2010). Strategic management of small schools to be effective learning organizations. Doctor of Philosophy Thesis Ubon Ratchathani Rajabhat University.
ตุลา มหาผสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์
Mahapasuthanon, T. (2002). Management principles Management principles. Bangkok: Thanachat Printing
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การ และการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์
Rattanadilok, Phuket, P. (2009). Organization and management. Nonthaburi: Think Beyond Books.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2555). หลักการวัดผลทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เฮ้าท์ ออฟ เคอร์มีสท์
Ritjaroon, P. (2012). Principles of educational measurement. (7th ed.). Bangkok: House of Kermist.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์
พับลิเคชั่นส์.
Royal Academy. (2003). The Royal Institute Dictionary, 1999. Bangkok: Nanmee Books Publications.
เสถียรภัคณ์ มุขดี. (2553). การพัฒนารูปแบบการประเมินสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 7(16).
Sathienpak, M. (2010). Development of an evaluation model for the Research and Development Institute of Rajabhat University. 7(16).
Stufflebeam, D. L. (1981). Meta-evaluation: Concepts, standards and uses. In R. A. Berk (Ed.), Education evaluation methodology: The state of the art. Baltimore: The John Hopkins.
Neufeldt, V., & Guralnik, D. B. (1988). Webster’s New World Dictionary of American English. New York: Webster’s New World.