การศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น
คำสำคัญ:
เมืองทุนนิยม, เศรษฐศาสตร์เมือง, เศรษฐศาสตร์การเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์การพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่นมุ่งทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในอำนาจของนักการเมืองท้องถิ่นกับพื้นที่เมืองในระดับนคร ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการเมือง โดยมีคำถามการวิจัยคือ 1) ลักษณะการพัฒนาทุนนิยมของจังหวัดภูเก็ตเชื่อมโยงหรือมีผลต่อการเมืองท้องถิ่นอย่างไรและ 2) ทุนนิยมชนิดใดทีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เมืองภูเก็ตเกิดการพัฒนา การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาพื้นที่เมืองของเทศบาลนครภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่าทุนนิยมในเมืองนครภูเก็ตทำให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งทำให้นักการเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาแย่งชิงอำนาจในพื้นที่เมืองแห่งนี้ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของเมืองนครภูเก็ตผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ทำให้พื้นที่เมืองถูกขยายและพัฒนาออกไป เป็นที่ประจักษ์ว่ากลุ่มการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีมีเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มคนหนุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มล้วนแล้วแต่เป็นนายทุนในพื้นที่ที่มีการสะสมทุนทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุคทุนนิยมเหมืองแร่ นครภูเก็ตตั้งแต่ปี 2540 จนกระทั้งถึงปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยทุนนิยมที่ขับเคลื่อนในพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ตคือทุนนิยมวัฒนธรรม
References
ญาณ์นภัส สกุลบุญพาณิชย์. (2554). ประวิติศาสตร์เมืองภูเก็ตสมัยใหม่ พ.ศ. 2500 – 2550. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ถนอม พูนวงศ์. (2556). ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย. (2556). บทปริทัศน์หนังสือ เรื่อง อ่านมาร์กซ์ในเมือง (ขบถ). Journal of Social Research, 36(1), 139 - 150.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2549). พลวัตทุนไทยและแนวทางการปฏิรูปเศรษฐฏิจการเมืองไทย : บททดลองเสนอการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ จากกรอบวิเคราะห์ธนกิจการเมือง. วารสารฟ้าเดียวกัน, 4(3), 74 – 93.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. . (1 พฤษภาคม 2552). การเมืองกับนโยบายการพัฒนาเมือง. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2561, จาก www.polsci.chula.ac th/pitch/ urbanpolitics2010
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2560). เมืองกินคน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง.
ภิญโญ ตันพิทยคุปต์. (2553). นักการเมืองถิ่นจังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2546). ทุนจีนปักษ์ใต้. กรุงเทพ : ทิปปิ้ง พอยท์.
วีระพงศ์ ยศบุญเรื่อง. (2560). ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยในปริทรรศ์ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2558). หีบบัตรกับบุญคุณ. กรุงเทพฯ : ศูนย์อาเซียนศึกษา.
อัปสร ณ ระนอง. (2550). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากกิจการเหมืองแร่ดีบุสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2484 – 2530. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Marc Askew. (2008). Performing Political Identity the Democrat Party in Southern Thailand. Bangkok: O.S. Printing House.