รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของแรงงานตามหลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • Phrakhrusripariyativitan Maen Tongvijit MBU

คำสำคัญ:

Potential development

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาวนา 4 ของแรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร, 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของแรงงานตามหลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง, 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพของแรงงานตามหลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน พร้อมทั้งได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ที-เทสท์, เอฟ-เทสท์ และค่าไค-สแควร์

ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาวนา 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงงานมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของแรงงานตามหลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือด้านจิตภาวนา ด้านปัญญาภาวนา ด้านสีลภาวนา ด้านกายภาวนา ตามลำดับ แรงงานที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพตามหลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งไม่แตกต่างกัน ส่วนแรงงานที่มีการศึกษาและรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาวนา 4 มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาศักยภาพของแรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของแรงงานตามหลักภาวนา 4 คือ การฝึกฝนอบรมตนให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกายจิตใจและสติปัญญา มีความรับผิดชอบ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรอบคอบรัดกุม 3) คู่มือการพัฒนาศักยภาพของแรงงานตามหลักภาวนา 4 เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง มี 5 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ, บทที่ 2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาวนา 4, บทที่ 3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง, บทที่ 4 รูปแบบการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง และบทที่ 5 บทสรุป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-02-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย