การเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษาบ้านด้ามพร้า ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ชุติมา จันทรมณี
ชูพักตร์ สุทธิสา
อินทิรา ซาฮีร์

บทคัดย่อ

การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา: บ้านด้ามพร้า ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ที่เกิดขึ้นจากนโยบายการพัฒนาให้กลายเป็นเมืองของภาครัฐในบ้านด้ามพร้า ศึกษาสถานการณ์ปัญหาเด็ก เยาวชนและครอบครัวภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นเมืองและหาแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีนักวิจัยหลักและนักวิจัยชุมชนจำนวน 31 คน ใช้การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลจากภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม สังเกตแบบมีส่วนร่วม จัดเวที จัดค่าย จัดทำแผนที่ชุมชน การบันทึกเทป จดบันทึก ถ่ายภาพ และใช้การนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัยพบว่านโยบายการพัฒนาพื้นที่ชานเมืองให้กลายเป็นเมืองเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในพื้นที่ขึ้น กล่าวคือ บ้านด้ามพร้าจากเดิมที่เคยเป็นพื้นที่ชนบทแต่ต่อมาได้รับการพัฒนาให้มีความเจริญด้านคมนาคม สาธารณูปโภค เทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้นจนเป็นเหตุให้ที่นาส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์จากชาวนาไปยังนายทุนทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์และเป็นอาหารในชุมชนหายไป นอกจากนี้ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาและความเชื่อหลายอย่างของชุมชน ก็ได้สูญหายไปด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้บ้านด้ามพร้ามีสภาพสังคมแบบต่างคนต่างอยู่ แข่งขัน วัตถุนิยม ใช้เงินเป็นตัวตั้ง มีค่านิยมความทันสมัยฟุ่มเฟือย และบริโภคนิยมจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาเด็กและเยาวชน ได้แก่ ติดโทรทัศน์ ติดมือถือ ติดเกมส์ออนไลน์ มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน นิยมอาหารจาน ด่วน เล่นการพนัน ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ยาเสพติด ครอบครัวขาดความอบอุ่นและมีความเครียด อย่างไรก็ตาม แม้บ้านด้ามพร้อมจะมีปัญหาที่หลากหลายแต่ก็ยังมีทุนทางสังคมเหลืออยู่ คือ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา กลุ่มกิจกรรมต่างๆ และวิทยาการความรู้สมัยใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มศักยภาพของเด็กและเยาวชนได้ จากการปฏิบัติการร่วมกันของทีมวิจัยโดยนำทุนทางสังคมเดิมของชุมชนผนวกกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้ได้แนวทางที่เหมาะสมในการเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท ดังนี้ 1)การใช้สื่อภาพยนตร์เพื่อสร้างการเรียนรู้ 2) การใช้กระบวนการค่ายสร้างสรรค์ 3)การสนับสนุนการเรียนรู้ตามศักยภาพของบุคคล 4) การใช้วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างการเรียนรู้ 5) การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อสร้างการเรียนรู้ เป็นต้น

Children and Youth Potential Enhancement through the Participation of Community in a Suburban Area : A Case Study of Ban Dampra in Khamyai Sub-district,Mueang District of Ubon Ratchathani Province

The research aims to study the change of the semi-urban and semi-rural area called Ban Dampra, Khamyai Sub-district, Mueang district of Ubon Ratchathani province caused by the government’s urbanization development policy, to investigate the problems of children, youths, and their families under the changing context of the location studied, and to identify the means for developing the potentials of children and youths through the participation of the community. Participatory action research (PAR) carried out by 31 primary and secondary local researchers was employed throughout the study. Data collection was conducted through the examination of related literature and field surveys coupled with the community’s and the investigator’s fully participation in all provided activities namely in-depth interviews, focus group discussions, observations, public meetings, seminars, community map making, tape recording, memo writings, and photographing. Descriptive writing was used in describing the finding of the study. The result indicating the urbanization development policy is a key causal factor of the rapid change on local internal space. In fact, Ban Dampra, Khamyai Sub-district, Mueang district of Ubon Ratchathani province used to be rural, but it was later developed and equipped with transportation, infrastructure, technology and modern communication. Land price has subsequently risen that causing substantial loss of community’s natural resources, culture, tradition, local wisdoms, and beliefs. This change has therefore directly severely affected the community as shown in the emergence of individualism value, competitiveness, materialism, moneyorientation, modernization, extravagance, and consuming passion in the community. The above-mentioned change has caused a lot of problems to children and youths which included the addiction of television, mobile phones, online games, sexual relationship, fast-food, gambling, alcohol, cigarette smoking, and drugs. Lack of warmth in families and full of stress have also occurred. However, despite encountering such critical problems, the community still has social capital that is cultures and traditions, local wisdoms, activity groups, and current knowledge that are possibly employed to solve the problems and to strengthen the potential of children and youths. Through the cooperative effort of the investigator team and the integration of social capital and modern communication technology, several means appropriate to children and youths potential construction have been obtained as follows: 1) use of movies for learning purpose, 2) use of processes in the ‘Camp of Creativity’ constructed, 3) promotion of individual difference learning approach, 4) provision of cultural and traditional activities and local wisdoms for learning, and 5) use of the community learning resources.

Article Details

บท
Articles