การจัดการควบคุมไฟป่าร่วมกันระหว่างรัฐและชุมชน : กรณีศึกษาพื้นที่ป่าดงใหญ่ ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

นิวัฒน์ สงมา
กนกวรรณ มะโนรมย์
วัชรี ศรีคำ
กาญจนา ทองทั่ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง การจัดการควบคุมไฟป่าร่วมกันระหว่างรัฐและชุมชนกรณีศึกษาพื้นที่ป่าดงใหญ่ ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพานจังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่ที่เกิด ไฟป่า 2) ศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับป่าและการใช้ประโยชน์จากป่าในทัศนะของชุมชน และ 3) ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของการเกิดไฟป่า วิธีการควบคุมไฟป่าของรัฐ ชุมชน และการจัดการควบคุมไฟป่าร่วมกันระหว่างรัฐและชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนในพื้นที่ป่าดงใหญ่มีการพึ่งพาอาศัยในป่าด้านต่างๆ เช่น อาหารยาสมุนไพร วัสดุเพื่อทำที่อยู่อาศัย การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่าเพื่อเสริมรายได้ เลี้ยงสัตว์ การนำพื้นที่ป่ามาปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ปอรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากไฟป่า ปัญหาการเกิดไฟป่าในเขตป่าดงใหญ่ พบว่ามีมานาน ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากธรรมชาติ การสัมปทาน และการบุกรุกเผาป่าของชุมชนเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเนื่องจากป่าดงใหญ่ได้เสื่อมโทรมลงมากทำให้รัฐและชุมชนได้ร่วมกันสร้างสถาบันทางสังคมขึ้นมาเพื่อดำเนินการควบคุมไฟป่า ได้แก่ การกำหนดกฎระเบียบการใช้ป่าและการควบคุมไฟป่าผ่านกลไกของท้องถิ่นและกระบวนการมีส่วนร่วมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งการจัดการทรัพยากรป่าร่วมกันดังกล่าวสะท้อนการจัดการทรัพยากรป่าเชิงสถาบัน และการจัดความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ในการจัดการควบคุมไฟป่า

The qualitative research entitled “Co-manangement of Forest Fire control between Government and Communities : A Case Study of Dongyai Forest, Sangtornoi Sub – district, Amnatcharoen Province, Thailand.” aims to 1) study the community’s geographical, biological, economic and social contexts in the areas consumed by Forest fire 2) study the community’s understanding of forest and forest use according to their attitude and 3) study problems, causes of forest fire, forest fire as controlled by the government and the

community, and co-manangement of forest fire control between government and communities. The research indicates that the Dongyai Forest community depends on the forest in various ways including food, medicine, herbs, home building materials, hunting, gathering of forest products, livestock, and land use for economic plants such as jute.The forest fire situation in Dongyai Forest has occurred for a long time and mostly has been caused by natural disaster, concession and forest invasion and villagers burning forest in order to grow economic plants.It has been evident that after forest concession cancellation the government enforced law in managing and controlling forest fire whereas the community depended on their local wisdom and used prevalent tools in the local area to prevent and stop forest fire. However, given that Dongyai Forest has increasingly deteriorated the government and the community decided to collaborate on creating a social organization in order to forest fire control. The organization enacted rules and regulations of forest use and forest fire control via local mechanism and mutual participation. This co-management natural resource reflects forest resource management at institutional level and social relational organization between different groups in managing and controlling forest fire.

Article Details

บท
Articles