การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภูกับการ อนุรักษ์วัฒนธรรม

Main Article Content

ปริวรรต สมนึก

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภูกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ (1) แสดงให้เห็นพัฒนาการของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภูที่เน้นในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการอนุรักษ์วัฒนธรรม และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยในการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภู โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องของชุมชน การสัมภาษณ์แกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภู ตลอดจนการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภู ผลการศึกษาพบว่า 1. ภูมิปัญญาของตนเองชาวบ้านภูตามวิถีชีวิตของชาวภูไท จนทำให้แกนนำชุมชนได้เกิดแนวคิดและเริ่มทำโฮมสเตย์ในหมู่บ้านขึ้น แต่ปรากฎว่าผลการทำโฮมสเตย์ล้มเหลว เพราะว่าไม่มีสิ่งดึงดูดความสนใจของผู้คนหรือนักท่องเที่ยวจนกระทั่งหมู่บ้านได้รับรางวัลหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ส่งผลให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีศักยภาพที่พร้อมให้บริการกับนักท่องเที่ยว กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง 2. กระบวนการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านภูนั้น ใช้โครงสร้างของกรรมการหมู่บ้านเข้ามา และแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความเหมาะสมออกเป็น 6 ฝ่ายด้วยกัน โดยมีกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ชุมชนออกเป็น 6 ฐานสำหรับกลไกการจัดการในการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนบ้านภูนั้น มีการดำเนินการใน (1) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยผ่านศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภู (2) ด้านการส่งเสริมอาชีพด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยชุมชนบ้านภูได้รวมกลุ่มอาชีพต่างๆขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู และ (3) ด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม โดยผ่านวัดซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน 3. ปัจจัยในการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนคือ (1) ความต้องการและความสามัคคีของคนในชุมชน (2) การมีจิตสำนึกและภูมิใจในบ้านเกิดที่เป็นแบบฉบับของชาวผู้ไท ที่มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีจิตใจโอบอ้อมอารี และ (3) การรู้จักการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

 

Ban Phu’s Community - based Tourism Management with Cultural Conservation

This study aimed to (1) outline the development of the tourism organized by Ban Phu community which had an emphasis on local culture preservation, (2) investigate the operation process of the community in tourism management by upholding the philosophy of sufficiency economy and cultural preservation and (3) study the factors in the operation process, which led to the successful tourism management of the community. The data collection involved reviewing community-related documents, interviewing the head and the involved subjects responsible for the tourism management of Ban Phu, and conducting focus groups. The results showed that : 1. The wisdom of the Ban Phu villagers was in the same way as Phuthai people. According to these unique aspects, the head of the community had an idea and decided to initiate a home stay in the village. However, the project was not successful since there had been no interesting attractions. In addition, the village was not well-known among tourists, resulting in no customers. However, the village had won the prize for for being the OTOP Tourism Village. According to the mentioned honors, Ban Phu community proved itself to be efficient in providing services for tourists, making it a famous tourist attraction. 2. Ban Phu community used its village committees in implementing tourism management process. The village committees were divided into 6 units according to their duties. Community learning activities were organized and divided into 6 bases for the tourists to participate. The implementation of the management mechanism in preserving and restoring of Ban Phu’s culture was categorized as follows: 1) Local wisdom. The community learning center played a significant role in providing knowledge and preserving culture. 2) In terms of occupational promotion in arts and culture, Ban Phu community had formed an occupational group in order to preserve and restore their culture. 3) Moral and ethics promotion. Temples played an important role as a spiritual center of the community. 3. Operating factors leading to the achievement in tourism management of the community were: 1) the need and the unity of the community members to be a good host together. 2) having consciousness and pride in their Phuthai origin which had a simple life and hospitality. 3) having competency in competition.

Article Details

บท
Articles