When EFL Students Utilized a Monolingual Dictionary as a Language Learning Tool: Discovering Sub-themes and Explanations of Consultation, Utilization, and Confirmation Strategies

Main Article Content

Banchakarn Sameephet

บทคัดย่อ

This paper reports on a study of monolingual dictionary strategies implemented by EFL university students. Hence, a translation sphere was designed as a research pathway to focus on areas of translation processes—from L1 into L2. It was intended to discover sub-themes and explanations of consultation, utilization, and confirmation strategies. Likewise, this study proposed to examine EFL users' perception of the usefulness of the sub-strategies. A mixed methods study was used. There were two phases of data collections and analyses, i.e. qualitative and quantitative phases. Thirty (30) university English majors participated in the first phase of writing a reflection of using a monolingual dictionary, while for the second phase, 100 EFL users took part in a questionnaire study. The findings showed a wide range of sub-strategies. Notwithstanding, only nine useful strategies were sequentially reported in this study. Furthermore, the results highlighted pedagogical implications to acquaint new students with possible strategies for utilizing monolingual dictionaries when students ask lecturers for advice and support.

บทความนี้ได้พิจารณาศึกษากลวิธีการใช้พจนานุกรมภาษาเดียวของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับอุดมศึกษา ซึ่งการศึกษานี้ได้มุ่งไปยังกระบวนการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อค้นหาหัวข้อย่อยและการอธิบายกลวิธีการค้น การใช้ และการยืนยันคำ ซึ่งกลวิธีเหล่านี้เป็นกรอบวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ด้วย และเป้าหมายอีกประการหนึ่งเพื่อศึกษามุมมองของผู้ใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศต่อประโยชน์ของแต่ละกลวิธี รูปแบบวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิธีผสมโดยใช้กระบวนการสำรวจแบบต่อเนื่อง การเก็บข้อมูลในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะด้วยกันคือ ระยะแรกเก็บผลสะท้อนการใช้พจนานุกรมภาษาเดียวจากนักศึกษาวิชาการแปล 30 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีจัดกลุ่มเพื่อโยงไปยังการเก็บข้อมูลในระยะที่สองต่อไป ในระยะที่สองเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัด 5 ระดับ เพื่อศึกษามุมมองต่อประโยชน์ของแต่ละกลวิธีจาก100 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติอย่างง่ายโดยใช้ร้อยละผลการวิจัยได้นำเสนอ 9 กลวิธีย่อยที่ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่ามีประโยชน์มากที่สุด ด้านประโยชน์จากผลการวิจัยในครั้งนี้จะนำไปสู่การนำเสนอกลวิธีการใช้พจนานุกรมแบบภาษาเดียวแก่นักเรียนใหม่วิชาการแปลหรือนักเรียนใหม่ที่ใช้พจนานุกรมเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภาษาต่อไป

Article Details

บท
Articles