The Pilgrimage Routes of French Catholic Mission in Thailand : A Model for Cultural Tourism Development and Management

Main Article Content

SOMNUCK JONGMEEWASIN

บทคัดย่อ

The aims of this study are to review (1) historical and spiritual backgrounds and their cultural heritage significance of French Catholic mission in Thailand, contributed by Catholic churches and their Catholic communities between the late of Ayutthaya period and the early of Bangkok period (1662 - 1862 A.D.), for development as cultural tourism destinations by linking them into pilgrimage routes and (2) general relevance of the cultural route concept into the pilgrimage routes to ensure cross-cultural significance to be interpreted and presented for cultural heritage conservation and cultural tourism development of the routes, accompanied by guidelines for sustainable management. The researcher used qualitative study through documentary research and interview for this review. Saint Joseph Church in Ayutthaya; Wat San Paulo in Lopburi; Immaculate Conception Church, Saint Francis Xavier Church, Santa Cruz Church, Holy Rosary Church, and Assumption Cathedral in Bangkok; Immaculate Conception Cathedral in Chanthaburi; and their surrounding Catholic communities and associations are the main study boundaries. Historically, the first group of French missionaries began their hazardous journeys from Marseilles in France to Siam for their Catholic mission in the reign of King Narai; however, they could not make success on the mission against Thai people but created some cultural gaps between each other until the reign of King Rama IV. The study found that success and failure of the French Catholic mission in Thailand has established many sacred areas in forms of the pilgrimage routes accompanied by a mosaic of different ethnic groups who have, overtime, learned to co-exist spiritually. These religious spaces provide cultural and cross-cultural significance and represent a Catholic church as main part of the social, tradition, and culture with significant interrelationship with Thai society in the national history. Finally, the routes have high potentials to be developed as tourist destinations for cultural tourism.The application of the cultural heritage management on the pilgrimage routes was presented with appropriate guidelines for community involvement in terms of cultural heritage conservation and cultural tourism development and management.

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์และศาสนา ตลอดจนคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการเดินทางของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยซึ่งประกอบไปด้วยโบสถ์คาทอลิกและชุมชนคาทอลิกที่ถูกสร้างขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยของกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2205–พ.ศ.2405) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะพัฒนาสถานที่เหล่านั้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยทำการเชื่อมต่อสถานที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาอยู่ในรูปแบบของเส้นทางการจาริกแสวงบุญ และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแนวคิดเส้นทางวัฒนธรรมในบริบทของเส้นทางการจาริกแสวงบุญ โดยคำนึงถึงการสร้างความหมายจากคุณค่าทางวัฒนธรรมร่วมกันของสถานที่ที่เกี่ยวข้องในเส้นทาง และการเผยแพร่ความหมายเหล่านั้นสู่สาธารณชน เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทางที่ทำการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะกรอบแนวทางการดำเนินงานภายใต้การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ศึกษาได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการ ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์โดยศึกษาจากเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในบริเวณพื้นที่ที่ทำการศึกษา ซึ่งอาณาบริเวณในการศึกษาประกอบไปด้วยวัดนักบุญยอแซฟในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดสันเปาโลในจังหวัดลพบุรี วัดคอนเซปชัน วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ วัดซางตาครู้ส วัดพระแม่ลูกประคำกาลหว่าร์ และวัดอัสสัมชัญในจังหวัดกรุงเทพมหานคร วัดพระแม่ปฎิสนธินิรมลในจังหวัดจันทบุรีและชุมชนคาทอลิก ตลอดจนสถานที่สำคัญทางศาสนาที่เกี่ยวข้องที่อยู่โดยรอบวัดคาทอลิกกลุ่มนี้ ในอดีตคณะบาทหลวงฝรั่งเศสกลุ่มแรกได้ออกเดินทางผ่านเส้นทางที่เต็มไปด้วยอันตรายจากเมืองมาร์แซร์ในประเทศฝรั่งเศสสู่อาณาจักรสยาม และได้เริ่มต้นการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในกรุงศรีอยุธยาและบริเวณใกล้เคียงในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตามการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกับคนไทยตลอดช่วงเวลานั้นจนถึงต้นสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ถือได้ว่าไม่ประสบผลสำเร็จ อันเนื่องมาจากช่องว่างทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นระหว่างชาติตะวันตกและชาติตะวันออกซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การเผยแพร่ศาสนาเริ่มประสบความสำเร็จอย่างชัดเจนก็ผ่านล่วงมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการศึกษาพบว่าความสำเร็จและความล้มเหลวของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสในการเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทยนั้นได้ให้กำเนิดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาขึ้นหลายแห่งภายในประเทศ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบของเส้นทางการจาริกแสวงบุญโดยมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายกลุ่มที่เป็นคาทอลิกเหมือนกันเข้ามาเกี่ยวข้อง สถานที่เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและคุณค่าทางวัฒนธรรมร่วม ตลอดจนบทบาทความสำคัญของวัดคาทอลิกที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสังคมไทยซึ่งได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศ ในตอนท้ายผู้ศึกษาพบว่าเส้นทางจาริกที่ทำการศึกษานี้มีศักยภาพสูงพอในการที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หลักการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมได้ถูกนำมาดัดแปลงประยุกต์ใช้กับเส้นทางการจาริกแสวงบุญนี้ โดยจัดทำเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานที่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ รวมถึงการพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในเส้นทาง

Article Details

บท
Articles