“ขวัญสงฆ์” วรรณกรรมกรรมเยาวชนที่ให้ สาระและบันเทิงผ่านชั้นเชิงทางวรรณศิลป์

Main Article Content

สารภี ขาวดี

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอข้อแนะนำบางประการสำหรับการอ่านวรรณกรรมเยาวชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และนำเสนอตัวอย่างบทวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “ขวัญสงฆ์” ในด้านคุณค่าที่มีต่อผู้อ่าน ทั้งคุณค่าทางอารมณ์และคุณค่าทางสติปัญญาในส่วนของแนวทางในการช่วยพัฒนาการอ่านให้ได้รับคุณค่าทางวรรณกรรมอย่างสูงสุดมี 2 ประการ คือ ประการแรก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และ ครูอาจารย์ในสถานศึกษา ควรจะต้องมีส่วนช่วยอธิบาย ขยายความเรื่องราว รวมทั้งช่วยขจัดอุปสรรคความยุ่งยากบางประการเพื่อให้การอ่านของเด็กและเยาวชนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประการที่สอง หลักคุณธรรมจริยธรรมบางประการที่ผู้แต่งสอดแทรกไว้ในวรรณกรรมเยาวชน อาจไม่ได้เอื้อประโยชน์แก่ เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มผู้อ่านหลักเพียงกลุ่มเดียว แต่ในฐานะที่พ่อแม่ผู้ปกครองและครูอาจารย์มีส่วนสำคัญในการอบรมเลี้ยงดู และขัดเกลาให้เด็กเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพในอนาคต จึงไม่ควรปฏิเสธการอ่านสารเหล่านี้ เพราะวรรณกรรมเยาวชนบางเรื่องอาจให้คุณค่าในทางสติปัญญาแก่ผู้อ่านกลุ่มนี้ในการนำไปพัฒนาตนให้เป็นบุคคลต้นแบบแก่เด็กและเยาวชนในสังคมได้เป็นอย่างดี นอกเหนือไปจากได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินอันเป็นคุณค่าทางอารมณ์ และจากการวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชน เรื่อง ขวัญสงฆ์ ผลงานของชมัยภร แสงกระจ่าง ในด้านคุณค่าของวรรณกรรมที่มีต่อผู้อ่าน พบว่า นอกจากวรรณกรรมเรื่องนี้จะให้คุณค่าทางอารมณ์ผ่านกลวิธีการจัดวางองค์ประกอบของวรรณกรรมอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการนำท่วงทำนองการแต่งแบบกลอนแปดมาใช้ในงานเขียนประเภทนวนิยายได้อย่างไพเราะแล้ว ยังให้คุณค่าทางปัญญาโดยการสอดแทรกหลักคุณธรรมไว้หลายประการ ซึ่งหลักคุณธรรม เหล่านี้ เด็ก เยาวชน รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ในโรงเรียน สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการเป็นบุคคลต้นแบบที่ดีได้ทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ยังพบการเน้นย้ำภาพลักษณ์และบทบาทด้านบวกของพระสงฆ์ผ่านตัวละครหลวงตาและตัวละครเอกคือ“ขวัญสงฆ์”โดยตลอดเรื่อง ซึ่งการเป็นไปเช่นนี้ อาจเนื่องด้วยผู้แต่งมุ่งหวังจะให้รรณกรรมเรื่องนี้ได้มีส่วนกระตุ้นให้คนในสังคมหันมาตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนมากขึ้น โดยเฉพาะพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาและมีส่วนสำคัญในการช่วยจรรโลงสังคม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้ ได้ให้ทั้งสาระ และความบันเทิงแก่ผู้อ่านหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้อ่านเกิดการซึมซับ และตระหนักเห็นคุณค่าของหลักคุณธรรมต่างๆ ในเรื่อง ก็จะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้องเพื่อความสุขความเจริญในชีวิตส่วนตัว และสังคมโดยรวมต่อไป

“Kwansong”: The Young Literature Contributing Knowledge and Entertainment through the Art of Literature

This article aimed to present the observations on reading and considering young adult literature, “Kwansong”, in order to help children to read literature most effectively and achieve both emotional and intellectual values. Typically, there are two suggestions of improving children’s effective literary reading skill. The first one is that teachers and parents have to elucidate children and explain them in details about a story children are reading. Moreover, when they have trouble reading literature, parents and teachers should help them cope with difficulties and obstacles to facilitate children’s reading. The second approach is that parents and teacher should pay attention on young adult literature since some moral lessons an author added in a story not only contributes knowledge to children, who are the target group of young adult literature, but also parents and teachers who take the major role in instructing and educating children. Therefore, it is undeniable that reading young adult literature could provide intellectual value for parents or significant others who are the role model of the children. According to the analysis of “Kwansong” by Chamaiporn Saengkranchang, apart from entertainment, which was emotional value perceived through the organization of literary elements and the use of Klon 8 rhyme scheme in prose, there was also intellectual value–the moral lessons. The readers, parents, teachers and significant others could apply the morals learned from the novel to their life with the purpose of being a good role model for other people. Moreover, the analysis suggested that the positive image of monks was emphasized through the main character, “Kwansong”, throughout the story. It might be because the author expected that the novel would encourage people, particularly monks, to concentrate more on their role and social functions. It came to the conclusion that “Kwansong” contributed knowledge and entertainment to many groups of readers, particularly if readers appreciate and realize moral value, they would behave properly for the sake of their own lives and society.

Article Details

บท
Articles