ปริทรรศน์กวีนิพนธ์เขมร

Main Article Content

ชาญชัย คงเพียรธรรม

บทคัดย่อ

กวีนิพนธ์เขมรก้าวเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในสมัยที่เขมรตกอยู่ภายใต้การปกครองของ ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1863-1953) การจัดระบบการศึกษาแบบตะวันตกโดยฝรั่งเศส และการนำแท่น พิมพ์เข้ามาใช้ในประเทศกัมพูชา ทำให้วัฒนธรรมการอ่านเฟื่องฟู แต่รูปแบบการเขียนร้อยแก้ว แนวใหม่แบบตะวันตกอย่างนวนิยาย และเรื่องสั้นได้บ่อนเซาะงานประเภทกวีนิพนธ์ทำให้งาน กวีนิพนธ์เริ่มเสื่อมความนิยมลง สมัยที่เขมรตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสนี้ถือเป็นยุคสุดท้ายที่ พบเห็นวรรณคดีที่แต่งเป็นกวีนิพนธ์ขนาดยาว และมีเนื้อหารับใช้ศาสนาและสถาบันกษัตริย์ ในสมัยสังคมราษฎร์นิยม กวีนิพนธ์เขมรกลายมาเป็นกวีนิพนธ์เพื่อความคิด คือ มีขนาดสั้น และรับใช้สังคมมากขึ้น วงวรรณกรรมเฟื่องฟูมาจนถึงสมัยสาธารณรัฐเขมร ก่อนที่จะถึงยุคมืด ในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย เขมรแดงได้ทำลายระบบการศึกษา เผาหนังสือ และฆ่าปัญญา ชน กวีนิพนธ์ในสมัยนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้เผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองและปลุกระดมพลัง มวลชน ค.ศ. 1979-1993 เป็นช่วงที่มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมขนานใหญ่รวมทั้งกวีนิพนธ์ด้วย กวีนิพนธ์เขมรเฟื่องฟูอย่างมาก ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 - ปัจจุบัน

Survey to Cambodian Poetry

Cambodian Poetry got into time of transition in French Protectorate. Western Education system was set up by French and printing press were used in Cambodia improved culture of literacy increasing, but the kind of western prose, novel and short story, subverted the Cambodian poetry which was depressing. This is the last time that we can saw the classical literature; so long and served religions and kings. In Sangkum Reastr Niyum regime, Cambodian poetry became the poem of ideas: short and served the society more than in the past. In Khmer Republic, Cambodian poetry was lively. In Democratic Kampuchea, Education system and Civilization were destroyed by Khmer Rouge. They burned a lot of books and killed intellectual. The Poetry became to instrument for propaganda and mass mobilization. In 1979-1993, Cambodian culture, including poetry was revived and it has achieved success since 1993 until now.

Article Details

บท
Articles