A Strategic Approach to Manage the Cultural Heritage Values of Suansunandha

Main Article Content

Suwannarit Wongcha-Um

บทคัดย่อ

This study aims to(1) to investigate tangible and intangible cultural heritage values of Suansunandha,(2) to assess significant elements of cultural heritage values of Suansunandha,(3) to evaluate impacts of cultural tourism and cultural heritage management, and(4) to outline a management policy for cultural heritage values and tourism in Suansunandha. The process of the study started from reviewing documentary evidence associated with the history of Suansunandha, investigating physical conditions of Suansunandha, having interviews with 15 key informants with semi-structured interviews, exploring opinions from 396 stakeholders with questionnaires, collecting both qualitative and quantitative data with the snowball and convenience sampling techniques respectively, analyzing the qualitative data with content analysis and the quantitative data with frequencies, percentages and means, and presenting the analyzed data informs of tables and networks. The findings demonstrate that Suansunandha has passed through six stages of social changes and physical development. The cultural significance of Suansunandha includes historic, aesthetic, social and scientific values such as the inner court of the royal family of King Rama V and the royal residences in the villa style as a part of the Romantic plan. The analysis of impacts of cultural heritage and tourism management indicates that Suansunandha should encourage stakeholders participating in the decision making process and tourism might enhance the employment and earning incomes, and deteriorate historic buildings. Opportunities and constraints should be guidance of defining the conservation, interpretation and visitor management policies.

จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือ(1) เพื่อสำรวจคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมของสวนสุนันทา(2) เพื่อประเมินองค์ประกอบที่มีความสำคัญของคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม(3) เพื่อประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และการจัดการทางวัฒนธรรม และ(4) เพื่อร่างนโยบายสำหรับการจัดการการท่องเที่ยว และคุณค่าทางวัฒนธรรมของสวนสุนันทา ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจาการทบทวนหลักฐานทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติของสวนสุนันทา การสำรวจลักษณะทางกายภาพของสวนสุนันทา การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และการสำรวจความเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสวนสุนันทาจำนวน 396 คน ด้วยแบบสอบถาม การเก็บทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ และปริมาณใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบอลหิมะ และแบบสะดวกตามลำดับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์และการจัดแสดงข้อมูลในรูปแบบของตาราง แลโครงข่ายสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยสำหรับการวิเคราะห์ข้องมูล เชิงปริมาณ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสวนสุนันทาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 6 ช่วง ความสำคัญทางวัฒนธรรมของสวนสุนันทาประกอบด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สุนทรียภาพ สังคมและวิทยาการ อาทิ การเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในของรัชกาลที่ 5 อาคารที่ประทับเป็นแบบวิลล่าซึ่งเป็นองค์ประกอบของผังบริเวณแบบโรแมนติคของสวนสุนันทา การวิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม เช่น สวนสุนันทาควรส่งเสริมผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องกับคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม การวิเคราะห์ผลกระทบจากการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เช่น การท่องเที่ยวอาจสร้างรายได้ การจ้างงาน และอาจทำให้อาคารประวัติศาสตร์ทรุดโทรม โอกาสและข้อจำกัดควรนำมาเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายการจัดการด้านการอนุรักษ์ การบริหารนักท่องเที่ยว และการสื่อความหมายของสวนสุนันทา

Article Details

บท
Articles