การศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรม “การโจลมะม็วด”: กรณีศึกษาจากชุมชนเขมร หมู่บ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สารภี ขาวดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มาจากผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์พิธีกรรม “การโจลมะม็วด” กรณีศึกษาจากชุมชนเขมร หมู่บ้านปรือเกียนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นงานวจัยที่มีจุดมุ่งหมายการศึกษาหลัก 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อที่ปรากฎผ่านพิธีกรรม “การโจลมะม็วด” ของชุมชนเขมรในฐานะที่เป็นหนทางหนึ่งของการบำบัดรักษาโรคตามความเชื่อดั้งเดิม และ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรม “การโจลมะม็วด” บริบทต่างๆ ได้แก่ ผู้ประกอบพิธี ผู้ับการบำบัดรักษา และผู้เข้าร่วมพิธีกรรม ทั้งนี้ใช้ทฤษฎีบทบาทหน้าที่มาเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ โดยผู้ทำวิจัยได้ศึกษาจากข้อมูลเอกสาร และลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อแจกแบบสอบถาม สัมภาษณ์และสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมขณะมีการประกอบพิธีกรรม และได้เสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์

An analysis of “JOLMAMUAD”: A case study of Khmer Community Ban Preukian, Tumbol Nokmuang, Muang District, Surin

This research aims to the rite of “JOLMAMUAD”: A case study of Khmer Community Ban Preukian, Tumbol Nokmuang, Muang District, Surin Province. There are 2 purposes in this research:(1) to analyze ethic’s/community’s belief which have been represented through the rite “JOLMAMUAD” of Khmer Community as the way of traditional belief to cure diseases;(2) to analyze the relation between the rite “JOLMAMUAD” and other contexts—medium, patients and participants. This research also uses role theory to be a method of this analysis. All data collections of this study were collected from documents, the questionnaires, interviews and observations. Meanwhile, the researcher also attends and participates in the rite. This research was explained by a descriptive analysis approach.

Article Details

บท
Articles