กลยุทธ์การเสริมสร้างเครือข่ายการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

นรา พิมพ์พันธ์
พิชญ์ สมพอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และเพื่อศึกษาและเสนอแนะกลยุทธ์การเสริมสร้างเครือข่ายการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีผลการศึกษาพบว่า ด้านการรับรู้ร่วมกัน มีแนวคิดการรับรู้ที่ไม่เหมือนกัน ควรมีการกำหนดกลยุทธ์ แนวคิด วิธีการ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยจัดประชุม ฝึกอบรมเครือข่าย หรือการทำ MOU ร่วมกัน ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ยังไม่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน ควรมีการระดมแนวคิด เป้าหมายร่วมกัน โดยการทำแผนพัฒนาองค์กร ด้านการมีผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน ยังไม่มีการดำเนินงานด้านการมีผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน ควรเชิญองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมประชุมเกี่ยวกับการมีผลประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เพื่อให้สมาชิกได้รับรู้ร่วมกัน ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง สมาชิกยังไม่เข้าใจบทบาทของด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย ควรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกทุกระดับ ด้านกระบวนการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน ยังไม่มีการวางแผนด้านกระบวนการเสริมสร้างซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ ควรกำหนดกลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งให้กันและกัน มีการประชุมแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างหน่วยงาน ด้านการพึ่งอิงด้วยกัน สมาชิกมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ความรู้ งบประมาณ และกำลังคน ควรกำหนดกลยุทธ์การสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ งบประมาณ และกำลังคน ระหว่างกัน และด้านการมีปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน สมาชิกเครือข่ายยังไม่มีประสบการณ์และไม่มีความต่อเนื่องในการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ควรมีการจัดกิจกรรมประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หรือจัดกิจกรรมกีฬาสันทนาการร่วมกัน

STRATEGIES FOR NETWORKING CREATION OF PRINTED MATTERS BETWEEN LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS AND UBON RATCHATHANI UNIVERSITY PRESS

THIS RESEARCH HAD THE OBJECTIVE TO STUDY THE POTENTIAL FOR ANETWORKING STRATEGY FOR PRINT MATERIAL BETWEEN LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS (LAO) AND THE UBON RATCHATHANI UNIVERSITY PRESS. THIS STUDY FOUND THAT THERE IS UNEVEN LEARNING. THERE SHOULD BE ALIGNMENT OF STRATEGIES, CONCEPTS AND METHODS SO THAT THEY GO IN THE SAME DIRECTION. THIS CAN BE DONE THROUGH MEETINGS AND TRAININGS IN NETWORKING, OR THROUGH AN MOU PROCESS. THERE IS STILL NO JOINT VISION AMONG THE STAKEHOLDERS. THERE SHOULD BE SOME BRAINSTORMING TO DEFINE CONCEPTS AND TARGETS COLLABORATIVELY. THERE NEEDS TO BE AN ORGANIZATIONAL DEVELOPMENT PLAN. THERE IS LIMITED JOINT BENEFIT OR MUTUAL INTEREST. THE STAKEHOLDERS SHOULD BE INVITED TO A MEETING TO EXPLAIN THE POTENTIAL FINANCIAL AND NON-FINANCIAL BENEFITS OF NETWORKING. THE MEMBERS OF THE NETWORK STILL DO NOT UNDERSTAND THEIR ROLES. THERE SHOULD BE ACTIVITIES TO EXCHANGE EXPERIENCE AND KNOWLEDGE AND LEARNING TO ACCEPT THE IDEAS OF OTHERS. THERE HAS NOT YET BEEN PLANNING FOR THE PROCESS OF MUTUAL SUPPORT. THERE SHOULD BE A STRATEGY TO STRENGTHEN NETWORK MEMBERS AND TECHNICAL EXCHANGE AMONG AGENCIES. THERE ARE LIMITATIONS OF TECHNOLOGY, KNOWLEDGE, BUDGET AND PERSONNEL FOR MUTUAL SUPPORT. THERE SHOULD BE A STRATEGY TO SUPPORT THESE AREAS. THE NETWORK MEMBERS ARE NOT EXPERIENCED OR SKILLFUL IN EXCHANGE RELATIONSHIPS. THERE SHOULD BE MEETINGS AND SEMINARS TO IMPROVE EXCHANGE OF IDEAS, OR JOINT SPORTING EVENTS.

Article Details

บท
Articles