การบริหารจัดการการศึกษานอกระบบ ที่มีคุณภาพ

Main Article Content

ภัชราพร มีรสสม

บทคัดย่อ

จากการประเมินคุณภาพภายนอกสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอทั่วประเทศในปี 2552 โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) พบว่ามี กศน.อำเภอเพียงร้อยละ 12.3 เท่านั้นที่มีผลการประเมินอยู่ ในระดับดีมาก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การ บริหารจัดการการศึกษานอกระบบมีคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ กศน. อำเภอที่ ได้รับการประเมินสูงสุด 5 อันดับแรกจาก 500 แห่งในปีงบประมาณ 2552 และได้จำแนกผู้ให้ ข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ใช้บริการ การวิจัยนี้มีการเก็บข้อมูลจาก หลากหลายวิธี เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ซึ่งได้แก่ การศึกษาเอกสารต่างๆ การ สัมภาษณ์รายบุคคล การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ซึ่งผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวม ได้ทั้งหมดตามหลักทฤษฎีพื้นฐาน และทฤษฎีระดับกว้าง ผลของการวิจัยพบว่าการบริหารจัดการ การศึกษานอกระบบที่มีคุณภาพ มีตัวแปรที่มีนัยสำคัญจำนวน 10 ตัวแปร คือ 1) ภาวะผู้นำ 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ 3) การมุ่งเน้นที่ผู้ใช้บริการ 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการ ความรู้ 5) การมุ่งเน้นที่ทรัพยากรบุคคล 6) การบริหารกระบวนการ 7) การประเมินความคุ้มค่า 8) วัฒนธรรมองค์การ 9) หลักสูตรการเรียนการสอน และ 10) เทคโนโลยี

 

THE QUALITY MANAGEMENT FOR NON-FORMAL EDUCATION

From the external quality management in 2009 by the Office for National
Education Standards and Quality Assessment (ONESQA), only 12.3 percent of 500District Non-Formal and Informal Education Centers (DNIECs) nationwide werefound to be of high quality. This research thus aims to examine and analyze thekey factors that contribute to the quality management of non-formal educationin Thailand. The samples consisted of the first five highest-ranking DNIECs in 2009.The research informants were composed of three groups, including DNIECs’ administrators, operators and customers. For the purpose of methodological triangulation, the data of this research were gathered from various methods, including document analysis, interview, focus group discussion and observation. The collected data were then analyzed based on the framework of the Grounded Theory and the Grand Theory. The results show that there are ten significant factors which contribute to the quality management of non-formal education. They were 1) leadership, 2) strategic planning, 3) customer and market focus, 4) knowledge management, 5) human resource focus, 6) process management, 7) cost-effectiveness analysis, 8) organizational culture, 9) educational curriculum and 10) technology.


Article Details

บท
Articles