ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อ กระบวนการเรียนการสอน รายวิชา ศิลปะการดำเนินชีวิต

Main Article Content

กิติพร โชประการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการ เรียนการสอนรายวิชาศิลปะการดำเนินชีวิต และ 2) ได้แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการ สอนรายวิชาดังกล่าว โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาศิลปะการดำเนินชีวิต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวนทั้งสิ้น 78 คน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความเห็นว่าเนื้อหาของทุกหัวข้อมีความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ ในระดับมากที่สุด กิจกรรมการเรียนการสอนที่นักศึกษาพอใจมากที่สุด คือ การได้ ทำกิจกรรม นอกสถานที่ โดยชอบเรียนจากสื่อประเภท DVD มากที่สุด นักศึกษามากกว่าร้อยละ 85 เห็นด้วย กับรูปแบบและวิธีการวัดและเกณฑ์ประเมินผล โดยที่ การทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ ดี ให้ความเป็นกันเอง และการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมการยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาของผู้ สอนมีส่วนช่วยดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจการเรียนมากขึ้น ทั้งนี้ผู้เรียนส่วนใหญ่เข้าเรียนสม่ำเสมอ และ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่จะต้องปรับปรุงตนเองในเรื่องการเข้าชั้นเรียน ให้ตรงเวลา กล้าแสดงความคิดเห็นหรือมีความสงสัยและตั้งคำถามให้มากยิ่งขึ้น ส่วนการได้รับ ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาทุกหัวข้ออยู่ในระดับมาก โดยสามลำดับแรกของเนื้อหาที่สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ ความเข้าใจในชีวิต บทบาทหน้าที่ในครอบครัวและ ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ดังนั้น การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยการ ทำกิจกรรมที่หลากหลาย โดยผู้สอนทำหน้าที่จัดหาสื่อการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมให้การ เรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี พร้อมกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศที่ดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจ คือ แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่จะสามารถเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิต พึงประสงค์ตามปรัชญาของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปได้

 

This research aimed to 1) examine the attitudes of students towards the learning and teaching process of the Art of Living course and 2) obtain a guideline for developing the learning and teaching process of this course. A questionnaire and interviews were used in the evaluation of the attitudes of the students registering for the Art of Living course in the second semester of the academic year of 2011, the number of the students being 78 in all. The results show that the students’ attitudes towards the correspondence between the contents of every topic and the objectives were at the highest levels and the educational activity with which the students were most satisfied was the field trip activity. The mode of learning with which they were most satisfied was the use of DVDs. Their obtaining the knowledge and understanding of the contents of every topic was at the high levels. The primary three contents that could be applied to daily life were the understanding of life, roles and duties in the family, and knowledge on living. Furthermore, more than 85% of the students approved of the mode and the method of evaluation and the evaluation criteria. Being a good example, being friendly, using simple language, together with using examples to accompany the teaching contents contributed to drawing the attention of learners towards learning better. Most of the students attended class regularly and cooperated well in activities but they need to improve themselves in arriving to class on time, having the courage to voice their opinions or having curiosity and posing more questions. Therefore, education with emphasis on inducing learning in learners through doing various activities with the teacher being responsible for providing audio-visual media to promote good education and create an atmosphere that captures students’ interest is a guideline for the development of an educational procedure that can promote the character of ideal graduates according to the philosophy of the general education subjects.

Article Details

บท
Articles