ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

วรัครศิริ โหตระไวศยะ
ธันยมัย เจียรกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากร คณะ/สำนัก ภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 14 หน่วยงานจำนวน 312 คน แบ่งเป็นบุคลากรสายวิชาการ 156 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 156 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาความแตกต่างของตัวแปร (T-test) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis)ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ความสำเร็จของงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบในงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.581 และให้ความสำคัญกับปัจจัยบำรุงรักษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ กฎ/ระเบียบ/นโยบาย การบริหารจัดการ/การบังคับบัญชา สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ค่าจ้างและค่าตอบแทนที่ได้รับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ชีวิตส่วนตัว สถานภาพ และความมั่นคงในหน้าที่การงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.555การเปรียบเทียบปัจจัยจูงใจและปัจจัยบำรุงรักษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน จำนวน7 ข้อ คือ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ด้านกฎ ระเบียบ นโยบาย ด้านการบริหารจัดการ การบังคับบัญชา ด้านสถานภาพผลกระทบของปัจจัยจูงใจที่มีต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พบว่าภาพรวมของปัจจัยจูงใจ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 49.1% ส่วนอีก50.9% จะเป็นอิทธิพลจากตัวแปรอื่นที่ไม่ได้อยู่ในตัวแบบ และสามารถอธิบายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ 50.0%ผลกระทบของปัจจัยบำรุงรักษาที่มีต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพบว่า ภาพรวมของปัจจัยบำรุงรักษา ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน57.0% ส่วนอีก 43.0% จะเป็นอิทธิพลจากตัวแปรอื่นที่ไม่ได้อยู่ในตัวแบบ และสามารถอธิบายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ 58.1%

Factors Affecting Job Satisfaction among Ubon Ratchathani University Employees

The purpose of this research is to study factors affecting job satisfaction among Ubon Ratchathani University employees and compare the job satisfaction between academic staff and supporting staff. Questionnaires were used as a tool by which to gather information from the sampling group from a combination of 14 faculties and offices at Ubon Ratchathani University. The sampling group consisted of 312 employees: 156 were academic staff and 156 were supporting staff. The statistical analyses including percentage, average, standard deviation, T-test, and multiple linear regression analysis were performed to determine factors influencing job satisfaction among the employees. The research findings show the respondents acknowledged the importance of the 5 motivator factors of job satisfaction: achievement, recognition, work itself, responsibility, and advancement. The level of their overall job satisfaction was high with an average of 3.67 and with the standard deviation of 0.581. The respondents also acknowledged the importance of the 8 maintenance factors: rules and policies, management and supervision, work environment, salary and rewards, collegiality, private life, status, and job security. The level of their overall satisfaction was moderate with an average of 3.57 and with the standard deviation of 0.555. In comparing the motivator factors with the maintenance ones to identify job satisfaction among the university employees in both academic and supporting tracks, the research revealed that their overall job satisfaction differed significantly in 7 components: achievement, recognition, work itself, advancement, rules and policies, management and supervision, and status. In terms of the influence of the motivator factors on job satisfaction, the research showed that the overall motivator factors explained 49.1 % job satisfaction while other components that were not included in the study explained 50.9 % of job satisfaction. The motivator factors explained 50 % of job satisfaction among the university employees. In terms of the influence of the maintenance factors on job satisfaction, the research revealed that the overall maintenance factors explained 57.0 % of job satisfaction whereas other variables or components that were not included in the research explained 43.0 % of job satisfaction. The maintenance factors explained 58.1 % of job satisfaction among the university employees.


Article Details

บท
Articles