ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด บริการ ความจงรักภักดีในตราสินค้า และแนวโน้มการซื้อรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้าในอนาคต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดบริการ ความจงรักภักดีในตราสินค้า และแนวโน้มการซื้อรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ในอนาคต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดบริการ ระดับความจงรักภักดีในตราสินค้า และแนวโน้มการซื้อรถยนต์ในอนาคต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติผลการวิจัยพบว่า ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปีประกอบอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้อยู่ระหว่าง 30,001 บาทขึ้นไป และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ซื้อส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดบริการในด้านสถานที่จัดจำหน่ายมากที่สุด และให้ความสำคัญด้านราคาน้อยที่สุด โดยที่ความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดบริการ มีผลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าด้านผ่านการคิดไตร่ตรองมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.62 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในขณะเดียวกันยังพบว่า แนวโน้มการซื้อรถยนต์ในอนาคตขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดบริการทุกด้าน และแนวโน้มการซื้อรถยนต์ในอนาคตยังขึ้นอยู่กับความจงรักภักดีในตราสินค้าในทุกด้านเช่นเดียวกัน โดยมีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มการซื้อรถยนต์ในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Relationship between Satisfaction with the Marketing Service Mix, Product Loyalty, and Prospects of Future Purchases of Toyota Cars
This study investigated the relationships betweencustomers’ satisfaction with the marketing services mix, productloyalty, and likelihood of future purchases of Toyota cars. The studycollec teddata from 400 Toyota car buyers by questionnaires andb analysis was completed by consideration of frequencies, percentages, means, and standard deviations. Relationships of data were analyzed by T-test, One-way analysis of variance, simple correlation statistics, and statistical analysis of the multiple regression models. The study determined a level of significance at 0.05 and used SPSS program to analyze data.
Most buyers were found to be females, 31-40 years old, government/state enterprise employees, with bachelor degrees, and earned 30,001 baht per month. The study revealed that most buyers were satisfied with the marketing services mix, mostly concerning the location of services and less in terms of price. The marketing services mix affected product loyalty, mostly in terms of reflective thinking (0.62 of correlation coefficient). The marketing services mix and product loyalty had a relationship at a medium level and were connected to each other. Also, the study found that the prospect of buying a Toyota car in the future depended on the marketing services mix and product loyalty at a level of significance of 0.01.