สนามการต่อรองเชิงอำนาจของชาวชุมชนแออัด ในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กิตติกาญจน์ หาญกุล
กนกวรรณ มะโนรมย์
นิตยา กิจติเวชกุล

บทคัดย่อ

ชุมชนแออัดถูกสร้างคำนิยามและอัตลักษณ์เชิงลบทำให้เป็นพื้นที่แปลกแยกของสังคมเมือง เป็นพื้นที่ยาเสพติด ลักขโมย อาชญากรรมและโสเภณี แต่บทความนี้ได้เสนอให้เห็นการใช้สนามต่างๆของพื้นที่เมืองเพื่อต่อรองการนิยามความหมายดังกล่าวจากสังคมจากกรณีของชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้ย้ายจากชุมชนแออัดเดิมมาสู่การสร้างบ้านและใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนทั่วไป ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นเมือง พวกเขาได้สร้างกลไกการต่อสู้เชิงอำนาจขึ้นในหลากหลายรูปแบบ ผ่านการสร้างอัตลักษณ์ของตนเองและอัตลักษณ์ของพื้นที่ เช่น การประชุมกับองค์กรต่างๆเรื่องที่อยู่อาศัยและการพัฒนา การต่อรองในพื้นที่พิธีกรรมเพื่อสร้างความเหนียวแน่นให้กับกลุ่มตนและสร้างการยอมรับจากสังคมรอบข้าง การสร้างสื่อของตนเองเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนในวงกว้างให้เห็นการทำงานในเชิงบวก เพื่อปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจให้เท่าเทียมกัน นำมาสู่การขยายพื้นที่ของการยอมรับนอกจากนี้ยังได้ท้าทายกับแนวคิดชุมชนที่ปัจจุบันเกิดความแตกต่างภายในที่หลากหลาย ในการนิยามความหมาย และชุมชนแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นความเป็นชุมชนขนาดเล็กที่มีการสร้างระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ช่วยให้พวกเขามีตัวตนเพื่อต่อรองกับสังคมภายนอกชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Power Negotiating Fields of an Urban Poor Community in Ubon Ratchathani Province

Slum communities were disintegrated from the major urban society though giving meaning and identity as the areas with drugs, robbery and prostitutes. However, in this article, people in an urban poor community have used urban platforms to negotiating newmeaningand construct own identity. A case study was taken in an urban poor community in Ubon Ratchathani Province that has the revival moves for building houses on a new land and rebuilding sense of community. Under urban context, people in the newly settled community have redefined identities of their community to gain power in the more positive senses through involving meetings with other organizations, especially on housing and development, use ritual space for reuniting and recognizing the existence of the community in addition, developing, own public media for campaigning and disseminating information to wider public is another positive strategic to for balancing the power relationship and leading to the recognition from the society. In addition, this would be a key challenge on the community concept that people define themselves and communities in various meaning and people themselves are able to build their social economic and political systems that make them have social space to negotiate to outside society efficiently.

Article Details

บท
Articles