ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่ทองคำ

Main Article Content

สุภีร์ สมอนา
มณีมัย ทองอยู่
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่ ศึกษาผ่านกรอบการกระทำร่วม (collective action frame) 3 กรอบ คือ กรอบการวินิจฉัยปัญหา (diagnostic framing) กรอบแนวทางออกปัญหา (prognosticframing) และกรอบการจูงใจ (motivational framing) ตามทฤษฎีกระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของ Snow & Benford พบว่าขบวนการได้สร้างกรอบการวินิจฉัยปัญหา (diagnostic framing) ที่สอดคล้องกับทฤษฎี โดยวินิจฉัยว่าปัญหาที่นำมาสู่การเคลื่อนไหวคือ “ความไม่เป็นธรรม”ในการจัดการทรัพยากรแร่โดยรัฐ แต่นอกเหนือจากข้อค้นพบตามทฤษฎีแล้วขบวนการยังวินิจฉัยถึงปัญหานโยบายการพัฒนาที่ให้ความสำคัญแก่อุตสาหกรรมมากกว่าเกษตรกรรมและไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน และปัญหาการสมคบคิดร่วมมือกันระหว่างรัฐกับทุน กรอบการวินิจฉัยดังกล่าวนี้ ได้นำมาซึ่งการนำเสนอแนวทางออกปัญหา (prognostic framing) ที่สอดคล้องกับการวินิจฉัยปัญหา คือ การเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม โดยเรียกร้องให้รัฐปฏิรูปโครงสร้างด้วยการปรับเปลี่ยนกฎหมายแร่ และแก้ไขสัญญาสัมปทานให้เกิดความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังเสนอทางออกระดับท้องถิ่น คือการส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้สามารถเข้าไปจัดการกับโครงสร้างระดับท้องถิ่นเพื่อลดปัญหาโครงสร้างผูกขาด พร้อมกับปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาให้เอื้อต่อวิถีชีวิตและชุมชน สำหรับกรอบการจูงใจ (motivational framing) ให้เกิดการเข้าร่วมในการเคลื่อนไหวนั้น ได้จูงใจด้วยการนำถ้อยคำกระตุ้น “หายนะภัยของเหมืองแร่” และ “ผลกระทบที่รุนแรง” มาเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ พร้อมกับชูประเด็น “วิถีวัฒนธรรมชุมชน” ซึ่งเป็นพลังทางวัฒนธรรมภายในชุมชน เป็นเครื่องมือในการระดมการต่อสู้

Social Movement against Gold Mining

The research has adopted the collective action framing tasks proposed by Snow and Benford to study the framing process. These include diagnostic framing, prognostic framing and motivational framing. Regarding diagnostic framing, “injustice frames” was identified which confirmed previous studies. In addition, this research was able to identify two other important diagnostic framing shared by the two cases under study, one being the state’s development policy biased towards industrial development and against agricultural development and rural people’s way of life and the other, the alliance between the state and the private sector. Based on these three diagnostic frames, two levels of corresponding prognostic framing were made. The movement demanded that the state make structural reform through the amendment of the mining law and change unfair mining concession terms. At the local level, movement representatives stood for local government elections with the aims to make local structural reforms, tackle monopoly problems and change local development policies. As for motivational framing, the vocabularies used to mobilize movement participation were “disastrous mining” and “dangerous impact” to warn against the severity and urgency of the problems, while putting forward the “community culture” discourse as a mobilizing tool.


Article Details

บท
Articles