Paradise Betrayed: Investigating the Plights of Female Domestic Workers in Two Contemporary Plays

Main Article Content

Thanis Bunsom

บทคัดย่อ

According to Yeoh and Huang (2000), the advent of globalization and the attempt to sustain economic strength of world cities unavoidably result in the reliance on foreign workers. Driven by constant economic instability of their own countries, a lot of women from the Philippines and Indonesia have been looking for employment abroad. This economic migration, however, has not always brought them wealth as some may have expected. Reports of abuse and maltreatment of female workers are not difficult to find. Contemporary authors in Southeast Asia have included the unfortunate stories of these women in their writings. In this study, two contemporary plays from the Philippines and Singapore are analysed in terms of the plights of female domestic workers. In Paulino Lim, Jr.’s Ménage Filipinescas (2008), Melissa, an email-order bride in California, is portrayed more as a maid and a prostitute solely subject to the mercy of her husband/master. Similarly, Harnesh Sharma’s Model Citizens (2012) depicts the hard life of Melly, an Indonesian girl working as a domestic helper by day and prostitute by night in Singapore. Her lack of English skills puts her in a formidable situation where communication with the outside world hardly exists. Both plays demonstrate the characters’ physical hardships, mental displacement and moral dilemmas.

 

การศึกษาของ Yeoh และ Huang (2000) ได้ชี้ให้เห็นถึงการพึ่งพาแรงงานต่างชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกระแสโลกาภิวัฒน์และภาวะการแข่งขันเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงอย่างต่อเนื่องของประเทศ ผู้หญิงในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจึงพยายามหาลู่ทางเพื่อให้ตนเองได้ทำงานในต่างประเทศ แต่การทำงานในต่างประเทศมิได้การันตีว่าแรงงานข้ามชาติจะมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นตามที่คาดหวังเสมอไป ซ้ำร้ายยังพบการละเมิดและการทารุณกรรมแรงงานหญิงข้ามชาติอยู่เสมอด้วย นักเขียนร่วมสมัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้บันทึกเรื่องราวที่นับเป็นโชคร้ายของแรงงานหญิงเหล่านี้ไว้ในงานเขียนของพวกเขาการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ชะตากรรมของแม่บ้านทำความสะอาดจากบทละครร่วมสมัยของประเทศฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ โดยพิจารณาศึกษาชีวิตของ Melissa จากบทละครเรื่อง Ménage Filipinescas ของ Paulino Lim, Jr. (2008) Melissa เป็นหญิงสาวที่ได้แต่งงานกับสามีชาวต่างชาติในเมืองแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จากบริการจัดหาคู่ทางอีเมล์ ชะตากรรมของเธอแสดงให้เห็นถึงสภานภาพของแม่บ้านและโสเภณีที่จำต้องปรนเปรอความสุขตามแต่ความเมตตาของสามีและเจ้านายของเธอ ในทำนองเดียวกัน บทละครเรื่อง Model Citizens ของ Harnesh Sharma (2012) ได้นำ เสนอชะตากรรมอันยากลำบากของ Melly หญิงสาวชาวอินโดนีเซียที่ได้ทำงานในประเทศสิงคโปร์โดยมีอาชีพเป็นแม่บ้านทำความสะอาดในเวลากลางวันและเป็นโสเภณีในเวลากลางคืน เธอตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายเนื่องจากการขาดทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและแทบจะไม่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากโลกภายนอกได้ โดยสรุป บทละครทั้งสองแสดงให้เห็นถึงความทรมานทางร่างกายสภาพจิตที่โหยหา และภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางศีลธรรมของตัวละครทั้งสอง

Article Details

บท
Articles