การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาในบริบทประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

สมหญิง แย้มยิ้ม
สมาน อัศวภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาในบริบทประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาในบริบทอาเซียน โดยจำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของ สถานศึกษา และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาในบริบทอาเซียนในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 จำนวนทั้งสิ้น 496 คน จาก 256 โรงเรียน จำแนกเป็น ผู้บริหาร จำนวน 155 คน และครู 341 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของKrejcie And Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratify random sampling) โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้นภูมิในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และ F

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้าราชการครูมีความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาในบริบทประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาในบริบทอาเซียน พบว่า ความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสถานศึกษาในบริบทอาเซียนในข้าราชการครูที่มีเพศต่างกัน ตำแหน่งต่างกัน และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านของระดับการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และข้าราชการครูที่ประจำในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายคู่ในแต่ละด้าน พบว่า คุณภาพผู้เรียนด้านทักษะ / กระบวนการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนรายคู่ด้านอื่นไม่แตกต่าง

3. ข้อเสนอแนะ จากการศึกษา พบว่า

3.1 ด้านคุณภาพผู้เรียน ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน เน้นการใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าข้อมูล และการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

3.2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ควรมีการวางแผน วิเคราะห์ ออกแบบการเรียนรู้ อันนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการสรุปและประเมินผลครบตามขั้นตอน สอดแทรกความรู้เรื่องอาเซียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการกำหนดหลักสูตรจาก สพฐ. ให้กับสถานศึกษา และมีการปรับ หลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียน มีความครอบคลุม สามารถนำไปใช้ได้จริง

3.3 ด้านการบริหารจัดการ ควรมีการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่อาเซียน เน้นให้มีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการสืบค้นข้อมูล และสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในหน่วยงานโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาให้เห็นความสำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 

Readiness Preparation towards School Development in ASEAN Context of Primary Schools in Ubonratchathani Primary Educational Service Area Office 5

The objectives of the research were to study and compare the readiness preparation towards school development in ASEAN context of primary schools in Ubonratchathani Primary Educational Service Area Office 5 as classified by genders, working positions, educational qualifications, working experiences and school sizes; and to examine the recommendations on the readiness preparation towards school development in ASEAN context of primary schools in the study. The sample used in the research consisted of 496 teachers from 256 schools including 155 directors and 341 teachers by Krejcie And Morgan table and stratify random sampling from the school’s sizes. The research instrument was the questionnaire with a confidence value equivalent to .98. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

The research findings were as follows :

1. The teachers’ opinions towards readiness preparation towards school development in ASEAN context of primary schools were at a high level.

2. Considering the opinions on readiness preparation towards school development in ASEAN context of primary schools, it was found that the teachers who were different in genders, working position and working experiences did not hold a different view on the readiness preparation towards school development in ASEAN context of primary schools in the study. The teachers who had different educational qualifications held different views in all aspects with a statistical significance of .05 on the readiness preparation towards school development in ASEAN context of primary schools. The teacher who worked in different school sizes held different view in student qualities : skills and process with a statistical significance of .05.

3. The recommendations were as follows.

3.1 The students quality : The students should pay more attention in ASEAN and also encourage the students to learn about the ASEAN. The students can use high technology for searching ASEAN information and can communicate with English language

3.2 The curriculum and learning styles : The teachers should plan and analyze for designing the lesson plan for teaching the students. In addition, there should be the systematic evaluation and integrate ASEAN content in all subjects. Moreover, the curriculum is set from the Ministry of Education. The curriculum is adapted to use in daily life and suited for the students.

3.3 The administration : The teachers are trained for ASEAN teaching to students and use more English to communication and ICT for searching ASEAN information. The directors should be fostered to ASEAN preparation.

Article Details

บท
Articles