ความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่และแนวทางการแก้ไขปัญหาของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี

Main Article Content

เอื้อพร ดิคคินสัน
กนกวรรณ มะโนรมย์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่และแนวทางการแก้ไขปัญหาของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี เป็นการศึกษาในรูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับความเครียดที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของกำลังพล หน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยแวดล้อมและปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้กำลังพล หน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี เกิดความเครียด และประการที่สาม เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเพื่อขจัดหรือขจัดความเครียดของกำลังพลเมื่อเกิดความเครียด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กำลังพลระดับพลทหาร นายทหารชั้นประทวนและนายทหารชั้นสัญญาบัตรหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี ที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ จำนวน 222 นาย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า

1. กำลังพลส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับน้อย (Mild Stress) โดยมีอาการหรือความรู้สึกเบื่อ เซ็งมากที่สุด ( \bar{x} = 2.83)

2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและปัจจัยส่วนบุคคล ในภาพรวมส่งผลให้กำลังพลเกิดความเครียดในระดับน้อย ( \bar{x} = 2.28) โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านครอบครัว ความผาสุกในการดำรงชีวิต

3. การจัดการแก้ไขปัญหาเมื่อกำลังพลเกิดความเครียดกำลังพลได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ในการจัดการความเครียดเป็นบางครั้ง ( \bar{x} = 2.37) โดยวิธีที่ใช้ในการจัดการความเครียดมากที่สุด 3 ลำดับ คือ การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่เสี่ยงภัยและหาวิธีป้องกันอันตราย การพูดคุยกับเพื่อนและหัวเราะสร้างอารมณ์ขันและการอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งเป็นการจัดการแบบการมุ่ง แก้ไขปัญหา (Problem Focused Coping Strategy) และการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม (Seeking Social Support)

การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การสนับสนุนให้กำลังพลใช้วิธีการที่เหมาะสมในการจัดการเมื่อเกิดความเครียด เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเน้นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชารวมทั้งการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกำลังพล ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของพื้นที่ชายแดน ให้บรรลุเป้าหมาย อันจะส่งผลให้กำลังพลมีความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่ลดลงด้วย

 

Stress Relating to the Conduct of Operational Duties Among the Personnel of Task Force 1 Suranaree Field Force and Solutions to Deal with the Problem

This study of stress relating to the conduct of operational duties among the personnel of Task Force 1 Suranaree Field Force is a quantitative and qualitative research study with 3 objectives. Firstly to study stress levels resulting from the conduct of operational duties of Task Force 1 Suranaree Field Force. Secondly to study environmental and personal factors causing stress among the personnel of Task Force 1 Suranaree Field Force from a sample of 222 privates, non – commissioned officers and commissioned officers in Task Force 1 Suranaree Field Force deployed along the Thai – Cambodian border in Kantharalak District, Srisaket Province using questionnaires and interviews to collect data and information.

The research results revealed that

1.Most personnel had “mild stress” levels with most expressing feelings of boredom. ( \bar{x} = 2.83)

2. Environmental and personal factors overall had “little” effect on causing stress. ( \bar{x} = 2.28) The factors which had the most effect on causing stress were family and personal happiness factors.

3. When personnel experience stress they also use these methods to deal with the problem “sometimes” .The three most used measures were to avoid duties in high risk areas and to protect against danger, talking with friends and reading , watching movies and listening to music. These measures demonstrated problem focused coping strategies and efforts aimed at seeking social support in dealing with stress.

This study demonstrates that supporting personnel to use appropriate methods to cope with stress is vitally important, especially the emphasis on social interaction between superiors and subordinates. This includes building understanding in the role of personnel in maintaining security in border areas which also helps reduce the levels of stress among personnel in carrying out their duties.

Article Details

บท
Articles