การพัฒนาบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

นวลละออง อุทามนตรี
รชยา อินทนนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนา บุคลากร ความต้องการของการพัฒนาบุคลากร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพปัจจุบันของการพัฒนาบุคลากรกับแนวทางการพัฒนาบุคลากร ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการพัฒนาบุคลากร กับแนวทางการพัฒนา บุคลากร ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดย การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากบุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 418 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-test F-test การทดสอบ แบบ Least Significant Different (LSD) และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlations)

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนาบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ความต้องการการพัฒนาบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดย ต้องการให้มหาวิทยาลัยพัฒนาด้านทัศนคติมากที่สุด บุคลากรที่มีเพศ และอายุ ต่างกัน มีความต้องการพัฒนาบุคลากรไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีระดับ การศึกษาแตกต่างกัน จะมีความต้องการพัฒนาบุคลากรแตกต่างกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันกับแนว ทางการพัฒนาบุคลากร มีความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำและในทิศทางเดียวกัน (r = 0.098) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสัมพันธ์ระหว่าง ความต้องการพัฒนาบุคลากร กับแนวทางการพัฒนาบุคลากร มีความสัมพันธ์กัน ในระดับปานกลางและในทิศทางเดียวกัน (r = 0.548) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

 

Personnel Development: A Case Study of Ubon Ratchathani University

The purpose of this research is to study the current condition of Ubon Ratchathani University (UBU) personnel development and its personnel development needs analysis. This research also studies the relationship between current personnel development and personnel development approach, and the relationship between personnel development needs analysis and personnel development approach. Using quantitative methods, questionnaires were used to collect data from 418 UBU staff. The data was then analyzed by using frequency count, percentage, mean, standard deviation, T-Test, F-Test, Least Significant Difference (LSD) and Pearson’s Correlation.

The results of the research reveal that the overall current condition of personnel development is at an average level and the overall personnel development needs are at a high level, particularly in attitude development. Gender and age do not affect personnel development needs. However, different educational backgrounds result in different personnel development needs.

A Pearson product-moment correlation coefficient was computed to assess the relationship between current personnel development and personnel development approach. There was a weak correlation between the two variables (r = 0.098), with statistical significance level of .05. There was a moderate correlation between personnel development needs and personnel development approach (r = 0.548) with statistical significance level of .05.

Article Details

บท
Articles