การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ชัยพล ดิษฐอั๊ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของผู้สูงอายุตาม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หนองกินเพล อำเภอ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่าง วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558กลุ่มประชากรเป้าหมายในการศึกษาเป็น ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล หนองกินเพล อำเภอวารินชำราย จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีอายุตั้งแต่60 ปีขึ้นไปในปีพ.ศ. 2557 จำนวน 21 คน วิธีการวิจัยในการศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีศักยภาพตาม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในด้านของการมีเหตุผล มากที่สุด รองลงมา คือ การ พอประมาณ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามลำดับแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุ 1) ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ได้แก่ การประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงข่าวสารในการ ดูแลสุขภาพตนเองการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและการจัดตั้งกลุ่ม หรือชมรมผู้สูงอายุการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชนโดยสื่อสารผ่านผู้นำชุมชนหรือโรงเรียนในชุมชน 2) การพอประมาณได้แก่ การสร้างความเข้าใจให้บุตรหลานและสมาชิกในครอบครัวให้เข้าใจธรรมชาติและ การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุในความดูแลการส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุให้มี บทบาทและเข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัวการจัดกลุ่มอาชีพสร้างรายได้ให้กับ ผู้สูงอายุ และการหาแหล่งทุนหรือแหล่งสนับสนุนในเรื่องปัจจัยสำหรับผู้สูงอายุที่ มีฐานะยากจน 3) การมีเหตุผล ได้แก่ จัดให้ผู้สูงอายุที่มีความรู้และประสบการณ์ เข้ามาร่วมพัฒนาเด็กวัยรุ่นเยาวชนในชุมชนโดยการให้คำแนะนำอบรมสั่งสอน เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีและเหมาะสมผลการศึกษาครั้งนี้หน่วยงานของรัฐหรือ หน่วยงานอื่น ๆ ควรจะส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุให้มีความครอบคลุมทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการวางแผนงาน การติดต่อประสานงาน การฝึกทักษะฝีมือการ ผลิต การหาตลาดให้กลุ่มผู้สูงอายุ การหาแนวทางสร้างรายได้เพื่อให้ผู้สูงอายุมี รายได้เพิ่มขึ้น สมาชิกในครอบครัวควรให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมีประสิทธิภาพ ดีขึ้น

 

The objective of this research was to study the elder’s potential according to the principle of sufficiency economy in the area of Nong Kin Phen Sub-District Administrative Organization (SAO), Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province from 1st January 2015 to 28th February 2015. The population of this study consisted of 21 elders who lived in Nong Kin Phen SAO, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province, aged at least 60 years in 2014, the tool of data collection was open ended survey questionnaire in order to inspect the potential of elders according to the principle of sufficiency economy in the elder zone under the area of Nong Kin Phen SAO, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province, which cover in 3 aspects as followed Risk management, Reasonableness and Moderation. As for data analysis, the general data used percentage for describing the characteristic of sample group, moreover the data from survey questionnaire about the potential of elder according to the principle of sufficiency economy was evaluated the content quality.

From the research, it revealed that the majority of elders had the potential according to the principle of sufficiency economy in descending order were Moderation, Risk Management, respectively. The approaches for the development of elder’s potential according to the principle of sufficiency economy as followed 1) Good risk Management, it included the public relation and the information about the sufficiency economy, self-health care. The training course for introducing the nutrition and the establishment of group or elder club in order to promote and support the elders participating in the various activities of community via community leader or schools, 2) Moderation, it made the understanding for children and family members in the nature and characteristic change of elders, it also involved the support and promotion of elder having the role and participating the family activity, it should set up the career group so as to make the revenue for the elder and it should find the capital source for the elders who lived in poverty level, 3) Reasonableness, it involved that the elders should be opened the chance to learning and pass the experience of the development of adolescent in community by teaching in the way of good living. The result of this research could be used as the model for government section especially in Sub- District level for giving the knowledge and understanding for people in community or local who aged at least 50 years old in order to make them understand and accept the change before they became elders.

Article Details

บท
Articles