ทฤษฎีการลุกฮือของชาวนากับการวิเคราะห์ การต่อสู้ของชาวนาอีสาน

Main Article Content

สมชัย ภัทรธนานันท์

บทคัดย่อ

งานเขียนทางวิชาการเกี่ยวกับการลุกฮือของชาวนาที่มีอยู่แม้ว่ามี คุณูปการอย่างสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจสาเหตุของการจับอาวุธขึ้นสู้ของ ชาวนา แต่ทฤษฎีเหล่านี้มักจะเห็นว่าการลุกฮือของชาวนามีสาเหตุมาจากปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดเศรษฐกิจเชิงศีลธรรม การไตร่ตรอง ผลได้ผลเสียอย่างถี่ถ้วน ความขัดแย้งทางชนชั้น การขยายตัวหรือการขัดขวาง เศรษฐกิจแบบตลาด หรือความอ่อนแอของรัฐ การวิเคราะห์เช่นนั้นมีข้อจำกัดใน การอธิบาย ทำให้ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์การลุกฮือของชาวนาอีสานที่เกิดขึ้น ภายใต้บริบทที่มีลักษณะเฉพาะได้ เพื่อทำความเข้าใจการลุกฮือของชาวนาอีสาน ผู้เขียนทำการวิเคราะห์การต่อสู้ดังกล่าวผ่านการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอของการ สร้างรัฐประชาชาติโดยใช้การต่อสู้ของชาวบ้านนาบัว และ ครอง จันดาวงศ์ เป็น กรณีศึกษา ทั้งสองกรณีแสดงให้เห็นว่า สาเหตุ ประเด็น และรูปแบบของการต่อสู้ ของชาวนา มีความแตกต่างกันเนื่องจากถูกผนวกเข้ากับรัฐไทยแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การค้นพบนี้เป็นเพียงเครื่องเตือนใจว่าสาเหตุการลุกฮือของชาวนามีความหลากหลาย เราไม่สามารถมีทฤษฎีทั่วไปสำหรับใช้อธิบายการลุกฮือของ ชาวนาโดยไม่คำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละกรณีได้

Existing academic works on peasant rebellion make significant contribution to understanding the cause of peasant armed uprisings. However, they tend to narrowly focus on a single factor, such as the violation of moral economy, class conflict, the expansion or obstruction of market economy, state weakness, or rational decision-making. The explanatory power of these theories are limits; they could not apply to the rebellion of Isan peasants that emerged under a unique context. This article tries to understand the struggle of Isan peasants through the unevenness of national state building by using the struggle of Nabau and Krong Chandawong as case studies. The two cases help us to see the complexity of causes, issues and forms of peasant struggles because they were integrated with the Thai state differently. This finding reminds us that the causes of peasant rebellions are varied. We cannot have a general theory of peasant rebellion without taking into account the specificity of each case.

Article Details

บท
Articles