Co-Training between Parents and Teachers: A Case Study at Ban Lau Sue Kok, Ubon, Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่อง ร่วมปลูกสร้างฝันร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครอง กรณีศึกษาที่ เหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นงานวิจัยต่อเนื่องใน โครงการวิชาการสานชุมชน หรือการนำความรู้ประสบการณ์กลับไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน บ้านเกิดของผู้วิจัยซึ่งได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆทั้งโครงการส่วนตัว และที่ได้รับ งบสนับสนุนจากทางราชการหลายรูปแบบที่บ้านเหล่าเสือโก้ก มาตั้งแต่ประมาณปี 2546-2547 โดยเห็นความสำคัญของความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อผลสัมฤทธิ์ของการ เรียนของเยาวชน จึงได้มีการประชาสัมพันธ์เสนอจัดหลักสูตร สอนให้เปล่า (20 ชั่วโมง) ใน ชุมชนโดยมีข้อแม้ให้ผู้ปกครองต้องเข้าร่วมประชุมและมีส่วนร่วมในการวางแผนและหรือร่วม กิจกรรมการสอนการเรียนด้วย ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ปกครองสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 15 ราย โดยมีผู้เรียนตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบ ถึง 15 ปี หรือระดับก่อนอนุบาลถึงระดับมัธยมต้น รวม 33 ราย
กระบวนการวิจัยเน้นการพูดภาษาอังกฤษเบื้องต้นและทักษะแนวทางการคิด การเรียน โดยมีการจัดแบ่งผู้เรียนเป็น 4 กลุ่มตามอายุคือ 3-4 ปี, 5-8 ปี, 9-12 ปี และ 13-15 ปี ตามลำดับ จัดการเรียนการสอนในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย เป็นผู้สอนหลัก และมีนักศึกษาอาสาสมัครผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยสอนประมาณ 10 ราย ก่อนการเริ่มกิจกรรมมี การทดสอบเก็บข้อมูลผู้เรียนก่อนและทดสอบอีกครั้งหลังการเรียนการสอน ในการนี้ผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมทั้งการประชุมและทำกิจกรรม เช่น ร่วมบอกเล่าเกี่ยวกับอาชีพและประสบการณ์ รวมทั้งสภาพชุมชนในสมัยอดีตเมื่อสิบยี่สิบปีก่อนผลของการศึกษาวิจัย พบว่า การเข้ามามี ส่วนร่วมของผู้ปกครอง ส่งผลบวกต่อเยาวชนกลุ่มอายุ3-8 ปี ทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น กล้าตอบกล้าถาม และมีผลการสอบหลังการเรียนดีกว่าผลสอบก่อนการเรียน อย่างไรก็ตาม กลุ่มอายุ 9-10 ปีขึ้นไป ผู้เรียนมักประหม่า พูดน้อย เวลามีผู้ปกครองอยู่ด้วย นั่นหมายความว่า หากจะให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน ควรพิจารณาความพร้อมและอายุ ของผู้เรียนด้วย โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น เยาวชนก็จะเริ่มรู้สึกถึงความเป็นไม่เป็นส่วนตัวอีกประเด็นหนึ่งที่พบก็คือ ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยต่างไม่ค่อยมีเวลามาร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ ได้ตลอดเพราะต้องประกอบอาชีพ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญรวมทั้งการให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาก็ยังเป็นที่สนใจ การประสานงานระหว่างผู้ปกครองกับครูผู้สอนก็ยังจำเป็น และการพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่น จะสำเร็จลงไม่ได้ หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นผู้นำท้องถิ่น ผู้ปกครองเยาวชน ตลอดจนตัวผู้เรียน เองจะหยุดนิ่งแล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยลำพัง