การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบรรยากาศองค์การ ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บรรยากาศองค์การ และการทำงานเป็นทีม
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บรรยากาศองค์การ และการทำงานเป็นทีม 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีม กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบรรยากาศองค์การ 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้วิจัยใช้แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 344 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบรรยากาศองค์การอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับสูง
2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ประเภทของบุคลากร และสังกัดหน่วยงานแตกต่างกันมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด ประสบการณ์การทำงานในกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และสังกัดหน่วยงาน แตกต่างกันมีการรับรู้บรรยากาศองค์การแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
3. การทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับบรรยากาศองค์การ
4. บรรยากาศองค์การโดยรวม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการทำงานเป็นทีม บรรยากาศองค์การด้านความรับผิดชอบ และบรรยากาศองค์การด้านความผูกพันเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีม
The objectives of this research were 1. to study human resource development, organizational climate, and teamwork 2. to compare mean of demographic factors with human resource development, organizational climate, and teamwork 3. to study relationship between teamwork and human resource development, and organizational climate and 4. to study factor affecting teamwork of the Department of National Parks, Wildlife, and Plant Conservation. Questionnaire was employed as the research instrument. The samples of this study were 344. Frequency, mean, percentage, standard deviation, t-Test, One-way ANOVA, Pearson’s product moment coefficient, and stepwise regression analysis were employed to analyze the data.
The findings are as followings;
1. The Department of National Parks, Wildlife, and Plant Conservation had moderate level of human resource development and organizational climate, and high level of teamwork.
2. Individuals who are different in age, type of employee, and department had experienced different human resource development. Individuals who are different in age, work experience, tenure, and department perceived different organizational climate.
3. Teamwork had moderate positive relationship with human resource development. It also has high positive relationship with organizational climate.
4. Total organizational climate human resource development in terms of teamwork, organizational climate in terms of responsibility, and commitment were factors affecting teamwork.