การปรับตัวของชาวนาไทยช่วงวิกฤตโควิด-19 ภายใต้พลวัตการผลิตและตลาดข้าวของชุมชนบ้านเขากลาง จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของชาวนาในช่วงวิกฤตโควิด-19 และศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขในการปรับตัวเพื่อการดำรงอยู่ของชาวนาในช่วงวิกฤตโควิด-19 ภายใต้พลวัตการผลิตและตลาดข้าวของชุมชนบ้านเขากลาง จังหวัดพัทลุง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ตลอดจนการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการค้าข้าวและชาวนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน


ผลการวิจัยพบว่า การระบาดของโรคโควิด-19 และการล็อกดาวน์ของประเทศไทย รวมทั้งการควบคุมต่าง ๆ ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตชาวนาในด้านการผลิตและตลาดข้าว ชาวนาในฐานะผู้ประกอบการเรียนรู้ที่จะปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมของตลาดที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและปรับปรุงการจัดการและทักษะใหม่ ๆ โดยมุ่งผลิตข้าวเพื่อขายในตลาดที่สร้างกำไรและค้นหาวิธีการและกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วย การปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงการผลิตข้าวสังข์หยดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ชาวนามุ่งลดต้นทุนการผลิต การปรับสู่การทำนาอินทรีย์ การคัดเลือกสมาชิกชาวนาที่ผลิตข้าวสังข์หยด และการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการชาวนา ส่วนการปรับตัวต่อความต้องการบริโภคข้าวสังข์หยด ชาวนาเน้นการรักษาคุณภาพข้าว  การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดชุมชน งานแสดงสินค้า และเพิ่มช่องทางขายข้าวออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ในลักษณะผู้ประกอบการชาวนา จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผลต่อการออกมาซื้อสินค้าของผู้บริโภค ซึ่งปัจจัยหรือเงื่อนไขในการปรับตัวดังกล่าวอยู่ภายใต้การมีทุนสี่ประเภท ประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนธรรมชาติและทุนการเงิน อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวสังข์หยดมีราคาสูงกว่าข้าวธรรมดา ปริมาณข้าวสังข์หยดที่ผลิตได้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดจากกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ซึ่งตลาดข้าวสังข์หยดยังเป็นตลาดขนาดเล็กและขายโดยกลุ่มชาวนาเองเป็นส่วนใหญ่ จากข้อค้นพบดังกล่าว นำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมกลยุทธ์การปรับตัวของชาวนาในการคิด ตัดสินใจ วางแผนและดำเนินการได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ชาวนาสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิผลและมีเสถียรภาพในระดับท้องถิ่น รวมทั้งควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชาวนา ด้วยฐานความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคที่รักสุขภาพที่นำไปสู่กระบวนการพัฒนาตลาดข้าวสังข์หยดและตลาดเฉพาะกลุ่มได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chipenda, C. (2021). Peasant Production and Livelihoods in Times of Crisis: an Exploration of the Impact of the Covid-19 Pandemic on Peasants. Bellville: Institute for Poverty, Land and Agrarian Studies.

Cotula, L. (2021). Towards a Political Economy of the Covid-19 Crisis: Reflections on an Agenda for Research and Action. World Development, 138, 1-4.

DFID. (2001). Sustainable Livelihoods Framework. http://www.researchgate. net/figure/sustainable-livelihood

Krantz, L. (2001). The Sustainable Livelihood Approach to Poverty Reduction. Swedish International Development Cooperation Agency, Division of Policy and Socioeconomic Analysis.

Muenphakdee, C. (2017). Changes in Economic and Social Landscape in a Peasant Society of Bueng Kan Province: Review of the Concepts of Peasants’ Society of Edward C. Banfield and James C. Scott. [in Thai]. Journal of Social Sciences and Humanities, Kasetsart University, 43 (1), 52-79.

Office of Agricultural Economics. (2020). Land Use Report. [in Thai]. http://www.oae.go.th/view1/TH-TH

Popkin, S. L. (1979). The Rational Peasant: The Political Economy of Rural Society in Vietnam. Berkeley: University of California.

Rigg, J. (2005). Poverty and Livelihoods after Full-Time Farming: A South-East Asian View. Asia Pacific Viewpoint, 46 (2), 173-184.

Sattayanurak, A. (2017). Changes in Thai Society: Democracy on the Move. [in Thai]. Chiangmai: The Thailand Research Fund (TRF).

Scott, J. C. (1976). The Moral Economy of the Peasant: Rebellion and Subsistence in Southeast Asia. New Haven and London: Yale University Press.

Sirisatidkit, P. (2016). The Model Development of Farmer Adaptation Sustainable of Songkhla Basin Area. [in Thai]. PhD Dissertation (Development Education), Silpakorn University.

Sirisatidkit, P. & Unaromlert, T. (2016). The Model Development of Farmer Adaptation Sustainable of Songkhla Basin Area. [in Thai]. Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University, 11 (1), 95-143.

Tonglim, S. (2009). Agriculture in Thailand. [in Thai]. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Wongsatjachock, W. (2018). A Contemporary Survey on Political Economy Approaches to Resilience of Thai Peasants and Developing Research Questions for the Future. [in Thai]. Burapha Journal of Political Economy, 5 (1), 22-52.

Worldometer. (2021). Covid Live-Coronavirus Statistics-Worldometer. http://www.worldometer.info/coronavirus

Yaimuang, S. et al. (2016). Literature Review and Developing Research Question for Change and Adaptation of Thai Farmers under the Change of Rice Production and Market. [in Thai]. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).