สู่สังคมสุขภาวะ: การพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะของ องค์กรพระพุทธศาสนาจังหวัดนครนายกและสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาวะจากการประกาศใช้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเกิดการตระหนักถึงสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวมและการรับรู้ถึงปัจจัยทางสังคมกำหนดสุขภาพ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนสุขภาพของพระสงฆ์ในองค์กรพระพุทธศาสนาจังหวัดนครนายกและสระแก้วสำหรับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะขององค์กรพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครนายกและสระแก้ว ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การศึกษาครั้งนี้จึงได้เก็บข้อมูลแบบผสมผสานจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ในพื้นที่จังหวัดนครนายกและสระแก้ว จำนวน 271 รูป และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะ จำนวน 33 รูป/คน ผ่านการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มในการเก็บข้อมูล อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ทุนสุขภาพของพระสงฆ์ในองค์กรพระพุทธศาสนาจังหวัดนครนายกและสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 35.2 มีเกณฑ์วัดค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติหรือมีสุขภาพดี และมีความระมัดระวังในการดูแลพฤติกรรมทางสุขภาพและการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ซึ่งมีความพร้อมในการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะขององค์กรพระพุทธศาสนา 2) การพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะขององค์กรพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครนายกและสระแก้วได้อาศัยการขับเคลื่อนเชิงเครือข่ายใน 2 ลักษณะคือ 1) เครือข่ายเชิงการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะ และ 2) เครือข่ายเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสุขภาวะ โดยมีเครือข่ายภาควิชาการเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญด้านองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพและมี การดำเนินงานเชิงปฏิบัติการภายใต้จุดเริ่มต้นที่เป็นทุนทรัพยากรภายในชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการสร้างสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Blaxter, M. (2003). “Biology, Social Class and Inequalities in Health: Their Synthesis in ‘Health Capital’.” In Bendelow, G., Birke, L. & Williams, S., editors. Debating Biology: Sociological Reflections on Health, Medicine, and Society. (p. 69-83). New York: Routledge.
Bourdieu, P. (1986). “The Forms of Capital.” In Richardson, J., editor. Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. (p.241-258). Westport, CT: Greenwood.
Creswell, J. W. & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and Conducting Mixed Methods Research. 3rd edition. Thousand Oaks, California: SAGE Publications.
Jearajit, C. (2016). Buddhist Monks in Development Network: Operations, Learning and Social Relationships. [in Thai]. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Project to promote health and learning according to Buddhism, Buddhist Research Institute of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Larpthananon, P. (2014). Buddhist Monk’s Well-being in 2012. 2nd Edition. [in Thai]. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation.
Panyachit, S. (2021). Lao Buddhist Monk Network: Community and Social Capital Creating Process in Thai Society. [in Thai]. D.A. Dissertation (Arts and Culture Research), Srinakharinwirot University.
Phramaha Suthit Apakaro et al. (2013). The Development of Management and Network of Buddhist Organizations in Thailand. [in Thai].
Phra Nakhon Si Ayutthaya: Buddhist Research Institute of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Suthit Apakaro et al. (2015). The Model of Well-being Promotion and Social Learning Base on Buddhist. [in Thai]. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Buddhist Research Institute of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Suthit Apakaro. (2016). Buddhism and Social Development. [in Thai]. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Social Sciences, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Putnum, R. (1993). Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy. Princeton: Princeton University Press.
Romrattanapan, W. (2005). Social Capital. [in Thai]. Bangkok: Project to enhance learning for a happy community.
Srinakharinwirot University. (2014). Annual Report 2013 Srinakharinwirot University. [in Thai]. Bangkok: Srinakharinwirot University Press.
Srithong, K. et al. (2021). Health Literacy Situation of Monks in Thai Society. [in Thai]. Journal of MCU Peace Studies, 9 (5), 1793-1804.
The National Health Commission office. (2017). The Health Charter for Buddhist Monks. [in Thai]. Nonthaburi: The National Health Commission office.
Wasi, P. (2003). Health As Human Principal. 4th Edition. [in Thai]. Nonthaburi: Heath Systems Research Institute.
Wasi, P. (2016). Buddhism: Great Capital for the Development of Thailand. [in Thai]. Bangkok: Buddhadasa Indapanno Archives.