วาทกรรมการเมืองในพาดหัวข่าวจีนเรื่องวัคซีนโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาที่ปรากฏในพาดหัวข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 กับวาทกรรมทางการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่ประกอบสร้างวาทกรรมทางการเมืองผ่านการนำเสนอข่าวเรื่องวัคซีน และเพื่อวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมจีน โดยคัดเลือกข้อมูลมาจากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์เหรินหมินหวั่ง (人民网)ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข่าวที่คนจีนให้ความนิยมมากที่สุด จำนวน 82 พาดหัว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2021 จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2021 โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (1995)ผลการศึกษาพบว่า มีกลวิธีทางภาษาที่ประกอบสร้างวาทกรรมทางการเมืองผ่านพาดหัวข่าวเรื่องวัคซีนทั้งหมด 6 กลวิธีคือ 1) การแสดงความเป็นผู้นำของโลก 2) การแสดงความสนใจหรือห่วงใย 3) การแสดงความน่าเชื่อถือ 4) การขอความร่วมมือ 5) การให้ความสำคัญ และ 6) การพัฒนาด้านวัคซีน เป็นที่น่าสังเกตว่า พาดหัวข่าวเหล่านี้สะท้อนว่าผู้ที่มีอำนาจต่าง ๆ เป็นผู้กำหนดว่าสิ่งใดควรเป็น “ความจริง”พวกเขาอาจสร้างความหมายบางอย่าง และกดทับหรือสกัดกั้นข้อมูลหรือความจริงบางอย่าง ในขณะที่ให้อำนาจข้อมูลหรือความจริงบางอย่างถูกพาดหัวข่าวหมุนเวียนอยู่ภายในสังคมจีนในภาวการณ์ระบาดของโควิด 19
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
References
Charoensin-o-larn, Chairat. (2017). Development Discouse: Power Knowledge Truth Identity and Otherness. [in Thai]. Bangkok: Vibhasa.
Ganjanapan, A. (2019). Think like Michel Foucault, think critically. [in Thai]. Bangkok: Sayam Publishing House.
Hiranrak, Darunee. (1987). Introduction to Newspaper. [in Thai].
Bangkok: Chulalongkorn University.
O' Shaugnessy, John. and O' Shaughnessy, Nicholas. (2004). Persuasion in
advertising. Routledge.
Pattanasuthinon, Thammawat and Rattanadilokna Phuket, Wipada. Speech
at a press conference of the Center for Epidemic Management of
the Coronavirus Disease 2019 (CDC).[in Thai]. Silpakorn University Journal. 41 (3), 91-104.
Rattanadilok Na Phuket, Wipada. “We will get through this crisis together”:
Persuasion in the context of a press conference on the situation of
the Coronavirus Disease 2019 (Covid-19) epidemic. [in Thai]. Wanwitas. 21 (1), 62-104.
Tangyuenyong, Patchanee. (2015). Contemporary Chinese Diplomatic
Discourse: Meaning and Role. [in Thai]. Bangkok: Center for Chinese Studies Institute of Asian Studies Chulalongkorn University.
Zhu Yao, Wei Yi’na and Sun Chang. (2021). “Research Progress of Novel
Coronavirus Pneumonia Vaccines”. Preventive Medicine. 33 (21), 43-148.
Thammachot, ThanachartSaengpradub. (2010).Discourse.
(https://prachatai.com/journal/2010/12/32341)
เว็บไซต์ http://www.people.com.cn สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564 .