ประเพณีทิ้งกระจาด : ความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

วิภาดา ทองธรรมสิริ
ธนากร ทองธรรมสิริ

บทคัดย่อ

   


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีทิ้งกระจาดของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดบุรีรัมย์กรณีศึกษามูลนิธิสว่างจรรยาธรรมสถาน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยศึกษาจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์บุคลากรของมูลนิธิสว่างจรรยาธรรมสถาน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ นำเสนอเชิงพรรณนา      


            ผลการศึกษาพบว่า  งานประเพณีทิ้งกระจาด ยังคงถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกัน ซึ่งทางมูลนิธิสว่างจรรยาธรรมฯ ได้จัดขึ้นทุกปี  โดยช่วงต้นชาวจีนโพ้นทะเล ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้สร้างสังคมและดำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมตามแบบอย่างคำสั่งสอนของบรรพบุรุษชาวจีน นับตั้งแต่ยังอาศัยอยู่ที่จีนแผ่นดินใหญ่ แต่เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านบุคลากร สังคม เศรษฐกิจ จึงส่งผลให้ประเพณีทิ้งกระจาดของทางมูลนิธิสว่างจรรยาธรรมฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและเข้ากับยุคสังคมสมัยใหม่ แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ธรรมเนียม ประเพณีที่มีการปฏิบัติ สืบทอดจากบรรพบุรุษมาอย่างช้านาน


                                                              


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Feng zi ping. (2005). History of Thailand Overseas Chinese. (p. 4). Hong Kong: Milkyway Publication.
Gao you peng. (2008). temple fair and Chinese culture. (p. 70). Beijing: People's Press.
Department of Religious Affairs, Wandee Chanpradit and Suwan Klinpong. (2009). Rituals and Traditions. [in Thai]. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited.
Sheng Yen. (2010). Are you a Buddhist? Online Retrieved October 10, 2010, from https://fo.ifeng.com/special/zongfengluntanlz/fojiao/detail2010_08/23/2173154_0.shtml.
Bo jin jie. (2012). The Cultural Function Analysis of Religious Drama A Case Study of the Taiping Street at Wenzhou city in Zhejiang province. master's thesis(anthropology), Anhui University
Lunjakon Nillakarn. (2018). Belief culture with the faith management of the community. [in Thai]. Journal of Narkbhutparitat Nakhon Si Thammarat Rajabhat University,10 (2),13.
Zhi he shi zi and wang gang. (2019). The Yulan Shenghui Festival Comparative study A Case Study of the Yulan Shenghui in modern Hong Kong. Festival Studies,2019 (02), 64-85
Sresthabongsa Chongsanguan. (2019,15 August). Background of the discarding the “Ghost Festival” festival. [in Thai]. Online Retrieved October 10, 2010, from https://www.silpa-mag.com/culture/article_37240
Wu peng. (2020). Zhong yuan Festival, not just "Ghost Festival” China Youth Daily Online Retrieved October 10, 2010,http://zqb.cyol.com/html/2020- 09/01/nw.D110000zgqnb_20200901_2-10.htm